วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8 กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ


บทที่ 8 กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
 

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์


  "ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction)" หมายถึง  ธุรกรรมที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

ลักษณะของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

         1. ผู้ประกอบธุรกรรมไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กันล่วงหน้าหรืออยู่ในที่เดียวกัน สามารถอยู่ที่ใดก็ได้บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

         2. การแก้ไขข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปได้โดยง่าย

         3. การลอบดูข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปได้โดยง่าย 

ตัวอย่างการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

 

         1. การซื้อ-ขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

         2. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce - E-Commerce)

         3. การสมัครสมาชิกผ่านระบบออนไลน์

         4. การตกลงทำสัญญาซื้อ-ขาย หรือสัญญาตกลงตามข้อบังคับต่างๆ บนเครือข่าย

         5. การโอนเงินด้วยระบบอัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย

         6. การสื่อสาร ส่ง-รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครือข่ายการสื่อสาร

         7. การสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์

         8. การส่ง-รับ แลกเปลี่ยนข้อมูลและยืนยันเอกสารทางศุลกากรด้วยระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange - EDI)

กรอบสำคัญของกฎหมาย

         การรองรับสถานะทางกฎหมายของ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีฐานะ เท่าเทียมกัน (Functional equivalent approach) กับ กระดาษที่ใช้อยู่ในระบบเดิม (Traditional equivalent approach)

เราเลือกการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเหตุผล

         1. เพื่อการได้เปรียบการแข่งขัน

         2. การลดค่าใช้จ่าย

         3. รวดเร็ว

         4. ดำเนินการได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่

 

       สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ..๒๕๔๔

      

     หลักการและเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ  โดยที่การทำธุรกรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการในการติดต่อสื่อสารที่อาศัยการพัฒนาการเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวมีความแตกต่างจากวิธีการทำธุรกรรมซึ่งมีกฎหมายรองรับอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก อันส่งผลให้ต้องมีการรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอกับการทำเป็นหนังสือ หรือหลักฐานเป็นหนังสือ การรับรองวิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้น่าเชื่อถือ และมีผลในทางกฎหมายเช่นเดียวกับการทำธุรกรรมโดยวิธีการทั่วไปที่เคยปฏิบัติอยู่เดิม ควรกำหนดให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่วางนโยบายกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ติดตามดูแลการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งมีหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาการทางเทคโนโลยีเพื่อติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาศักยภาพตลอดเวลาให้มีมาตรฐานน่าเชื่อถือ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง อันจะเป็นการส่งเสริมการใช้ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ด้วยการมีกฎหมายรองรับในลักษณะที่เป็นเอกรูป และสอดคล้องกับมาตรฐานที่นานาประเทศยอมรับ

         พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับแก่ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ธุรกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดมิให้นำพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนมาใช้บังคับ รวมถึงให้ใช้บังคับแก่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐด้วย เช่น คำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน คำสั่งทางปกครอง การชำระเงิน การประกาศ หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายกับหน่วยงานของรัฐหรือโดยหน่วยงานของรัฐ ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ก็ให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายในเรื่องนั้นกำหนด (มาตรา ๓๕)
       

        ๒. สาระสำคัญ

     ๒.๑  คำนิยามศัพท์ที่สำคัญ (มาตรา ๔)

ธุรกรรม หมายความว่า การกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ หรือในการดำเนินงานของรัฐตามที่กำหนดในหมวด ๔ เรื่องธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ

อิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

       ๒.๒  ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

พระราชบัญญัตินี้กำหนดห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา ๗) ดังนั้น ขั้นตอนต่างๆ หรือแบบในการทำธุรกรรมจึงสามารถกระทำโดยใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ดังที่หมวด ๑ ของพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

    (๑)  ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว (มาตรา ๘) และในกรณีที่บุคคลลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้าบุคคลนั้นใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อได้และสามารถจะแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อนั้นรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ว่าเป็นของตน โดยวิธีดังกล่าวจะต้องเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี (มาตรา ๙)

    (๒)  ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ถ้าได้นำเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อความ ความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ของข้อความ เว้นแต่การรับรองหรือบันทึกเพิ่มเติมหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ และสามารถที่จะแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้แล้ว ให้ถือว่าได้มีการนำเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสารต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว (มาตรา ๑๐)

    (๓)  ห้ามไม่ให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายเพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยการพิเคราะห์ถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าวจะพิเคราะห์ถึงลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะหรือวิธีการรักษาความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะหรือวิธีการที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง (มาตรา ๑๑)

    (๔)  คำเสนอหรือคำสนองในการทำสัญญาอาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ (มาตรา ๑๓) โดยการแสดงเจตนาหรือคำบอกกล่าวอาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ (มาตรา ๑๔) และบุคคลใดเป็นผู้ส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยวิธีใดให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้นั้น โดยมีหลักเกณฑ์ในการส่งหรือการรับข้อมูลดังนี้

ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล ให้ถือว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ส่งข้อมูล หากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ส่งโดยบุคคลผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นหรือระบบข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลหรือบุคคลผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ส่งข้อมูลได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ (มาตรา ๑๕)

ผู้รับข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้ส่งข้อมูลและชอบที่จะดำเนินการไปตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ถ้าผู้รับข้อมูลได้ตรวจสอบโดยสมควรว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นของผู้ส่งข้อมูล แต่ถ้าในขณะนั้นผู้รับข้อมูลได้รับแจ้งจากผู้ส่งข้อมูลว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นไม่ใช่ของผู้ส่งข้อมูลและในขณะเดียวกันผู้รับข้อมูลมีเวลาพอสมควรที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้งนั้น จะถือว่าข้อมูลที่ผู้รับได้รับเป็นของผู้ส่งข้อมูลไม่ได้ อีกกรณีหนึ่งคือ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเกิดจากการกระทำของบุคคลซึ่งใช้วิธีการที่ผู้ส่งข้อมูลใช้ในการแสดงว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นของผู้ส่งข้อมูล ซึ่งบุคคลนั้นได้ล่วงรู้โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับผู้ส่งข้อมูลหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ส่งข้อมูล ผู้รับข้อมูลจะถือว่าข้อมูลเป็นของผู้ส่งข้อมูลและชอบที่จะดำเนินการไปตามข้อมูลนั้นได้ แต่ถ้าผู้รับข้อมูลได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าข้อมูลนั้นไม่ใช้ข้อมูลของผู้ส่งข้อมูล หากผู้รับข้อมูลได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรหรือดำเนินการตามวิธีการที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้ว ผู้รับข้อมูลจะถือว่าข้อมูลนั้นเป็นของผู้ส่งข้อมูลไม่ได้ (มาตรา ๑๖)

    (๕)  ในกรณีที่ต้องมีการตอบแจ้งการรับข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าผู้ส่งข้อมูลได้ร้องขอหรือตกลงกับผู้รับข้อมูลไว้ก่อนหรือขณะที่ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือปรากฏในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลมิได้ตกลงให้ตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบหรือวิธีการใดโดยเฉพาะ การตอบแจ้งการรับอาจทำได้ด้วยการติดต่อสื่อสารจากผู้รับข้อมูล

ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลกำหนดเงื่อนไขว่าจะถือว่ามีการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อเมื่อได้รับการตอบแจ้งการรับจากผู้รับข้อมูล ให้ถือว่ายังไม่มีการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จนกว่าผู้ส่งข้อมูลจะได้รับการตอบแจ้งการรับแล้ว

ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลมิได้กำหนดเงื่อนไขและผู้ส่งข้อมูลมิได้รับการตอบแจ้งการรับนั้นภายในเวลาที่กำหนดหรือตกลงกัน หรือภายในระยะเวลาอันสมควรในกรณีที่มิได้กำหนดหรือตกลงเวลาไว้ ผู้ส่งข้อมูลอาจส่งคำบอกกล่าวไปยังผู้รับข้อมูลว่าตนยังมิได้รับการตอบแจ้งการรับและกำหนดระยะเวลาอันสมควรให้ผู้รับข้อมูลตอบแจ้งการรับและหากผู้ส่งข้อมูลมิได้รับการตอบแจ้งการรับภายในระยะเวลาอันสมควรดังกล่าว เมื่อผู้ส่งข้อมูลบอกกล่าวแก่ผู้รับข้อมูลแล้ว ผู้ส่งข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมิได้มีการส่งเลยหรือผู้ส่งข้อมูลอาจใช้สิทธิอื่นใดที่ผู้ส่งข้อมูลมีอยู่ได้

     (๖)  การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้มีการส่งเมื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูล (มาตรา ๒๒) และการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูล หากผู้รับข้อมูลได้กำหนดระบบข้อมูลที่ประสงค์จะใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลได้กำหนดไว้นั้น

      ๒.๓  ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นและเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะดังนี้ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ เช่น ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่เชื่อมโยงไปยังบุคคลอื่นภายใต้สภาพที่นำมาใช้,ในขณะสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่มีการควบคุมของบุคคลอื่น,การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้นสามารถจะตรวจพบได้ และในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไปเพื่อรับรองความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ การเปลี่ยนแปลงใดแก่ข้อความนั้นสามารถตรวจพบได้นับแต่เวลาที่ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งก็อาจยังมีวิธีการอื่นอีกที่แสดงได้ว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้(มาตรา ๒๖)

ในกรณีมีการใช้ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จะมีผลตามกฎหมาย เจ้าของลายมือชื่อต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อไม่ให้มีการใช้ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต,แจ้งให้บุคคลที่คาดหมายได้โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะกระทำการใดโดยขึ้นอยู่กับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือให้บริการเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทราบโดยไม่ชักช้าเมื่อเจ้าของลายมือชื่อรู้หรือควรได้รู้ว่าข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นสูญหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข ถูกเปิดเผยโดยไม่ชอบ หรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รวมถึงการที่เจ้าของลายมือชื่อรู้จากสภาพการณ์ที่ปรากฏว่ากรณีมีความเสี่ยงมากพอที่ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะสูญหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข ถูกเปิดเผยโดยไม่ชอบหรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์,ในกรณีมีการออกใบรับรองสนับสนุนการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรให้แน่ใจในความถูกต้องและสมบูรณ์ของการแสดงสาระสำคัญทั้งหมด ซึ่งกระทำโดยเจ้าของลายมือชื่อเกี่ยวกับใบรับรองนั้นตลอดอายุใบรับรองหรือตามที่มีการกำหนดในใบรับรอง (มาตรา ๒๗)

ในกรณีมีการให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทางกฎหมายเสมือนหนึ่งลงลายมือชื่อ ผู้ให้บริการออกใบรับรองต้องมีวิธีดำเนินการ เช่น ปฏิบัติตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติที่ตนได้แสดงไว้,ใช้ความระมัดระวังตามสมควรให้แน่ใจในความถูกต้องและความสมบูรณ์ของการแสดงสาระสำคัญทั้งหมดที่ตนได้กระทำเกี่ยวกับใบรับรองนั้นตลอดอายุใบรับรองหรือตามที่มีการกำหนดในใบรับรอง,จัดให้มีวิธีการในการเข้าถึงโดยสมควร ให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงในการแสดงสาระสำคัญทั้งหมดจากใบรับรองได้,ใช้ระบบ วิธีการ และบุคลากรที่เชื่อถือได้ในการให้บริการ โดยดูจากสถานภาพทางการเงิน บุคลากรและสินทรัพย์ที่มีอยู่ คุณภาพของระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ วิธีการออกใบรับรอง การขอใบรับรองและการเก็บรักษาข้อมูลการให้บริการนั้น เป็นต้น (มาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙) ซึ่งคู่กรณีที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการตามสมควรในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และในกรณีที่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีใบรับรอง คู่กรณีต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบรับรอง การพักใช้หรือการเพิกถอนใบรับรอง และปฏิบัติตามข้อจำกัดใดๆ ที่เกี่ยวกับใบรับรอง (มาตรา ๓๐) โดยใบรับรองหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นี้ให้ถือว่ามีผลทางกฎหมาย (มาตรา ๓๑) และใบรับรองที่ออกในต่างประเทศก็ให้มีผลตามกฎหมายในประเทศเช่นเดียวกับใบรับรองที่ออกในประเทศ หากการออกใบรับรองดังกล่าวได้ใช้ระบบที่เชื่อถือได้ไม่น้อยกว่าระบบที่เชื่อถือได้ตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๓๑)

      ๒.๔  ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

บุคคลย่อมมีสิทธิประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เฉพาะแต่ในกรณีที่จำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ หรือเพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความเชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชนโดยจะมีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดเป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ ต้องขึ้นทะเบียนหรือต้องได้รับใบอนุญาต (มาตรา ๓๒) ซึ่งในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กรณีใดเป็นกิจการที่ต้องได้รับอนุญาต ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด โดยพระราชกฤษฎีกาจะกำหนดถึงเรื่องคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์และวิธีการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การคืนใบอนุญาตและการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ด้วย (มาตรา ๓๔)

       ๒.๕  คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  (มาตรา ๓๖)   มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อวางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนา ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง,ติดตามดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์,เสนอแนะหรือให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเพื่อการตราพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัตินี้,ออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ และปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น โดยในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา ๓๗) และให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการ (มาตรา ๔๓)

       ๒.๖  บทกำหนดโทษ

ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่แจ้งหรือขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาหรือฝ่าฝืนคำสั่งห้ามการประกอบธุรกิจของคณะกรรมการหรือประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด โดยความผิดดังกล่าวนี้ รวมถึงการกระทำโดยนิติบุคคล ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล หรือผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น

       ๓. ผู้รักษาการตามกฎหมายและวันบังคับใช้  ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๖)

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๑๑๒ ก หน้า ๒๖ ลงวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มาตรา ๒) 

ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

มิถุนายน ๒๕๔๗      

        ตัวอย่างข่าวธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

      

     1. ก.ไอซีที พร้อมเผยแพร่ระบบ e-Government Portal เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ e-Services

    “กระทรวงไอซีที ได้กำหนดแผนทิศทาง หรือ Roadmap ในการพัฒนาระบบการบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ หรือ e-Services แบบก้าวกระโดดในระยะเวลา 5 ปีระหว่าง พ.ศ.2552 - 2557 และแผนดำเนินการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยในอนาคต เพื่อให้สามารถบรรลุการพัฒนาไปสู่ online information & interactive transaction โดยสมบูรณ์ ซึ่งในปี 2553 ได้กำหนดเป้าหมายให้เป็น c-Government หรือ Connected Government ที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการให้บริการ e-Services

    ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้มีการพัฒนาโครงการ Common Platform และระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ หรือ e-Government Portal เพื่อเป็นโครงสร้างกลาง หรือ Government Gateway มาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อรองรับการให้และรับบริการแบบ จุดเดียว หรือ One Stop Service ผ่านระบบ Single Window Entry ด้วย Single Sign On โดยในปี 2553 กระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.) ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ e-Government Portal เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานในระบบ e-Service เกิดความสะดวก รวดเร็ว มั่นใจได้ในด้านความปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพดียิ่งๆ ขึ้นนางจีราวรรณ กล่าว

    ดังนั้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ระบบ e-Government Portal ที่ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพใหม่แก่หน่วยงานภาครัฐ ให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น กระทรวงฯ จึงได้กำหนดให้มีการจัดงานสัมมนาเรื่อง ระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Government Portal)” ขึ้น เพื่อเผยแพร่ระบบ e-Government Portal ซึ่งเป็นศูนย์รวมบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐสำหรับประชาชนที่สามารถค้นหาบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ณ จุดเดียว อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และตอบข้อซักถามของการรับบริการภาครัฐต่างๆ และรับฟังความคิดเห็นต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์การผลักดันให้เกิดการใช้งานระบบ e-Government Portal ต่อไป

    สำหรับการสัมมนาที่จัดขึ้นนี้จะมีการเผยแพร่ความรู้ในประเด็นต่างๆ อาทิ แนวทางการดำเนินการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government Roadmap ระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ สื่อสังคมออนไลน์ (Facebook) กับหน่วยงานภาครัฐ และการเสวนาเรื่อง “e-Service Best Practices” เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบถึงรูปแบบการบริการ รวมถึงข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการผลักดันให้เกิดการใช้งานระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Government Portal)


      2.ไอซีที ใส่เกียร์ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ชี้มูลค่าสูง-ลดต้นทุน

     รมว.ไอซีที เร่งผลักดันการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หลังธปท.รายงานไตรมาส4 มูลค่า1.3 ล้านบาท พร้อมดัน เรื่องการโอนเงินผ่านเช็คให้สามารถเคลียริ่งได้ ภายใน 1 วัน เริ่มกรุงเทพฯก่อนทยอยตจว.ภายในปี 55…

     นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ในฐานะประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 3/2553ว่า เป็นการประชุมคณะกรรมการครั้งแรกหลังการเข้ารับตำแหน่ง ว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำความสำคัญของการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีมูลค่าสูงมาก เฉพาะมูลค่าการให้บริการรับชำระเงินแทน (Bill Payment) โดยเป็นหนึ่งในประเภทธุรกิจบริการภายใต้การกำกับดูแลตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย การควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นำมารายงานให้คณะกรรมการฯ ทราบเฉพาะในไตรมาส 4 ของปี 2552 ที่ผ่านมา ก็มีจำนวนถึงกว่า 1,345,500 ล้านบาท

     รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ขยายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงได้เสนอให้ ธปท. พิจารณาปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างธนาคารพาณิชย์ผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ให้ลดลงจากเดิมภายในสิ้นปี 2553 แนวทางนี้จะช่วยให้ปริมาณการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในบริการดังกล่าว เพิ่มมากขึ้น โดยจะส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินการถูกลง และธุรกิจต่างๆ ก็จะหันมาใช้การโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เช็คที่มีต้นทุนสูงก ว่า นอกจากนี้ ยังจะเร่งผลักดันเรื่องการโอนเงินผ่านเช็คให้สามารถเคลียริ่งได้ ภายใน 1 วัน โดยจะทำให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับประโยชน์จากจำนวนวันในการคิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น โดยแนวทางดังกล่าวคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในสิ้นปีนี้ เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ก่อน และจะทยอยดำเนินการได้ครบ ทุกจังหวัดประมาณสิ้นปี 2555

     นายจุติ กล่าวอีกว่า การผลักดันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในภาคธุรกิจ ได้มีนโยบายในการจัดทำโครงการนำร่องร่วมกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท เพื่อนำสินค้าโอทอป (OTOP) มาจำหน่ายผ่านระบบ อี-คอมเมิร์ซ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ลูกค้าบัตรเครดิตของธนาคารกรุงไทย และบจ.ไปรษณีย์ไทยจะรับหน้าที่ในการขนส่งสินค้า

     “อย่างไรก็ตาม การผลักดันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น ยังติดปัญหาหลายๆ เรื่อง ซึ่งเรื่องที่สำคัญเร่งด่วน คือ การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ผลักดันและขับเคลื่อนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดยตามกฎหมายได้ระบุให้เป็นส่วนราชการ จึงอาจทำให้การปฏิบัติงานไม่คล่องตัวเท่าการเป็นองค์การมหาชน และแม้ว่าการจัดตั้งสำนักงานฯ จะยังไม่แล้วเสร็จ ก็จะพยายามหาแนวทาง วิธีการ และงบประมาณมาส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในทุกภาคส่วนให้เพิ่มมาก ขึ้นให้ได้”  รมว.ไอซีที กล่าว

      นายจุติ กล่าวด้วยว่า การประชุม ครั้งนี้  คณะกรรมการฯ อยู่ระหว่างการเร่งพิจารณาร่างหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำหรือแปลงเอกสาร และข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  และ ร่างหลักเกณฑ์การพิจารณาหน่วยงานรับรองสิ่งพิมพ์ออก ที่สำนักงานปลัดกระทรวงฯ ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการรองรับและผลักดันให้เกิดการใช้งานระบบ e-Document และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบต่อไป นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังได้มีการพิจารณาออกใบอนุญาตตามพระราชกฤษฎีกาฯ เพิ่มเติมให้กับผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ตามบัญชี ค ประเภทการให้บริการ รับชำระเงินแทน จำนวน 2 ราย คือ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด และบริษัท สามารถ ไอ-โม บาย จำกัด (มหาชน) อันถือได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการเติบโตของธุรกิจในด้านนี้ และเป็นการเพิ่มทางเลือกแก่ผู้ใช้บริการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น


การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์


การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)


 

 

การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)                
          
ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM 

 

     การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)                
         
เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน               

การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)          

    เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์  

 

ชนิดของสัญญาณข้อมูล          

         1.  สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)           

        
         
เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ  
เฮิรตซ์  (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ                 

    สัญญาณดิจิทัล(Digit al Signal)          
          
สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล                 Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที                 
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)                    
         
โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที  ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ 
          1. 
การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) 
          2. 
การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission) 
          3. 
การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)  ตัวกลางการสื่อสาร 
          1. 
สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media)  สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้ 
               - 
สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)                
                 
สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ 
                - 
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)                
          
สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว 
                - 
สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)                
         
สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก            2.  สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น 
                -
แสงอินฟราเรด (Infrared)  เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์ 
                - 
สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)  เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
                - 
ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล





อ้างอิง


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น