วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556


บทที่ 4 ความเป็นส่วนตัว

 

ความหมายของความเป็นส่วนตัว

          ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ

ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้

1.    การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในกเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร

2.    การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม

3.    การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด

4.    การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น

          ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จีงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล

การเปิดเผยข้อมูล

         บริษัทจดทะเบียนมีหน้าที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท หรือมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท หรือข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน โดยบริษัทจะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ ก... กำหนด เพื่อให้ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน เช่น งบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ฯลฯ   เช่น

ภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล

          ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นภัยอันตรายต่อสังคมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากภัยนี้จะเป็นการรบกวนการทำงานของผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังส่งผลเสียต่อข้อมูลสำคัญๆ ที่มีอยู่อีกด้วย

1. ชนิดของภัยคุกคามที่เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต จำแนกได้ดังนี้

1.1 มัลแวร์ (Malware) คือความไม่ปกติทางโปรแกรมที่สูญเสียความลับทางข้อมูล (Confidentiality) ข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลง (Integrity) สูญเสียเสถียรภาพของระบบปฏิบัติการ (Availability) ซึ่งมัลแวร์แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท จึงขออธิบายแต่ละประเภทดังนี้

1.1.1 ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือรหัสหรือโปรแกรมที่สามารถทำสำเนาตัวเองและแพร่กระจายสู่เครื่องอื่นได้ โดยเจ้าของเครื่องนั้นๆ ไม่รู้ตัว ถือว่าเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ซึ่งฝังตัวเองในโปรแกรมหรือไฟล์ แล้วแพร่กระจายจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ ผ่านทางสื่อต่างๆ สิ่งสำคัญคือไวรัสไม่สามารถแพร่กระจายได้หากขาดคนกระทำ เช่น แบ่งปันไฟล์ที่ติดไวรัสหรือส่งอีเมล์ที่ติดไวรัส เป็นต้น

1.1.2 หนอนคอมพิวเตอร์ (Computer Worm) เรียกสั้นๆ ว่า เวิร์ม เป็นหน่วยย่อยลงมาจากไวรัส มีคุณสมบัติต่างๆ เหมือนไวรัสแต่ต่างกันที่เวิร์มไม่ต้องอาศัยผู้ใช้งาน แต่จะอาศัยไฟล์หรือคุณสมบัติในการส่งต่อข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อกระจายตัวเอง บางทีเวิร์มสามารถติดตั้ง Backdoor ที่เริ่มติดเวิร์มและสร้างสำเนาตัวเองได้ ซึ่งผู้สร้างเวิร์มนั้นสามารถสั่งการได้จากระยะไกล ที่เรียกว่า Botnet โดยมีเป้าหมายเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ส่งที่อันตรายอย่างยิ่งของเวิร์มคือ สามารถจำลองตัวเองในคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งแล้วแพร่กระจายตัวเองออกไปได้จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น สามารถดักจับ username และ password และใช้ข้อมูลนี้เพื่อบุกรุกบัญชีผู้ใช้นั้น ทำสำเนาตัวเองแล้วส่งต่อไปยังทุกรายชื่อที่มีอยู่ในลิสต์อีเมล์ และเมื่อสำเนาตัวเองเป็นจำนวนมากจะทำให้การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายช้าลง เป็นเหตุให้ Web Server และเครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงาน

1.1.3 ม้าโทรจัน (Trojan Horse) คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่ดูเหมือนมีประโยชน์ แต่แท้ที่จริงก่อให้เกิดความเสียหายเมื่อรันโปรแกรม หรือติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ได้รับไฟล์โทรจันมักถูกหลอกลวงให้เปิดไฟล์ดังกล่าว โดยหลงคิดว่าเป็นซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย หรือไฟล์จากแหล่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อไฟล์ถูกเปิดอาจส่งผลลัพธ์หลายรูปแบบ เช่น สร้างความรำคาญด้วยการเปลี่ยนหน้าจอ สร้างไอคอนที่ไม่จำเป็น จนถึงขั้นลบไฟล์และทำลายข้อมูล โทรจันต่างจากไวรัสและเวิร์มคือโทรจันไม่สามารถสร้างสำเนาโดยแพร่กระจายสู่ไฟล์อื่น และไม่สามารถจำลองตัวเองได้

1.1.4 Backdoor แปลเป็นไทยก็คือประตูหลัง ที่เปิดทิ้งไว้ให้บุคคลอื่นเดินเข้านอกออกในบ้านได้โดยง่าย ซึ่งเป็นช่องทางลัดที่เกิดจากช่องโหว่ของระบบ ทำให้ผู้ไม่มีสิทธิเข้าถึงระบบหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการใดๆ

1.1.5 สปายแวร์ (Spyware) คือมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วทำให้ล่วงรู้ข้อมูลของผู้ใช้งานได้โดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว สามารถเฝ้าดูการใช้งานและรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้ เช่น นิสัยการท่องเน็ต และเว็บไซต์ที่เข้าชม ทั้งยังสามารถเปลี่ยนค่าที่ตั้งไว้ของคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตช้าลง เป็นต้น สายแวร์ที่มีชื่อคุ้นเคยกันดีคือโปรแกรม Keylogger ซึ่งตกเป็นข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ตที่แฝงโปรแกรมนี้ จะทำให้โปรแกรมเข้าฝังตัวในคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทำธุรกรรมการเงินทางอินเทอร์เน็ต ข้อมูล username และ password ของบัญชีผู้ใช้จึงถูกส่งตรงถึงมิจฉาชีพ และลักลอบโอนเงินออกมาโดยเจ้าของตัวจริงไม่รู้ตัว เป็นต้น

1.2 การโจมตีแบบ DoS/DDos คือการพยายามโจมตีเพื่อทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางหยุดทำงาน หรือสูญเสียเสถียรภาพ หากเครื่องต้นทาง(ผู้โจมตี) มีเครื่องเดียว เรียกว่าการโจมตีแบบ Denial of Service (DoS) แต่หากผู้โจมตีมีมากและกระทำพร้อมๆ กัน จะเรียกกว่าการโจมตีแบบ Distributed Denial of Service (DDoS) ซึ่งในปัจจุบันการโจมตีส่วนใหญ่มักเป็นการโจมตีแบบ DDoS

1.3 BOTNET หรือ “Robot network” คือเครือข่ายหุ่นรบที่ถือเป็นสะพานเชื่อมภัยคุกคามทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้วยมัลแวร์ทั้งหลายที่กล่าวในตอนต้นต้องการนำทางเพื่อต่อยอดความเสียหาย และทำให้ยากแต่การควบคุมมากขึ้น

1.4 ข้อมูลขยะ (Spam) คือภัยคุกคามส่วนใหญ่ที่เกิดจากอีเมล์หรือเรียกว่า อีเมล์ขยะ เป็นขยะออนไลน์ที่ส่งตรงถึงผู้รับ โดยที่ผู้รับสารนั้นไม่ต้องการ และสร้างความเดือดร้อน รำคาญให้กับผู้รับได้  ในลักษณะของการโฆษณาสินค้าหรือบริการ การชักชวนเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งอาจมีภัยคุกคามชนิด phishing แฝงเข้ามาด้วย ด้วยเหตุนี้จึงควรติดตั้งระบบ anti-spam หรือใช้บริการคัดกรองอีเมล์ของเว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์ หลายคนอาจจะสงสัยว่า spammer รู้อีเมล์เราได้อย่างไร คำตอบคือได้จากเว็บไซต์ ห้องสนทนา ลิสต์รายชื่อลูกค้า รวมทั้งไวรัสชนิดต่างๆ ที่เป็นแหล่งรวบรวมอีเมล์และถูกส่งต่อกันไปเป็นทอดๆ ซึ่งหากจำเป็นต้องเผยแพร่อีเมล์ทางอินเทอร์เน็ตโดยป้องกันการถูกค้นเจอจาก Botnet สามารถทำได้โดยเปลี่ยนวิธีการสะกดโดยเปลี่ยนจาก “@” เป็น “at” แทน

1.5 Phishing เป็นคำพ้องเสียงกับ “fishing” หรือการตกปลาเพื่อให้เหยื่อมาติดเบ็ด คือ กลลวงชนิดหนึ่งในโลกไซเบอร์ด้วยการส่งข้อมูลผ่านอีเมล์หรือเมสเซนเจอร์ หลอกให้เหยื่อหลงเชื่อว่าเป็นสถาบันการเงินหรือองค์กรน่าเชื่อถือ แล้วทำลิงค์ล่อให้เหยื่อคลิก เพื่อหวังจะได้ข้อมูลสำคัญ เช่น username/password, เลขที่บัญชีธนาคาร, เลขที่บัตรเครดิต เป็นต้น แต่ลิงค์ดังกล่าวถูกนำไปสู่หน้าเว็บเลียนแบบ หากเหยื่อเผลอกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไป มิจฉาชีพสามารถนำข้อมูลไปหาประโยชน์ในทางมิชอบได้

1.6 Sniffing เป็นการดักข้อมูลที่ส่งจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งบนเครือข่ายในองค์กร (LAN) เป็นวิธีการหนึ่งที่นักโจมตีระบบนิยมใช้ดักข้อมูลเพื่อแกะรหัสผ่านบนเครือข่ายไร้สาย (Wirdless LAN) และดักข้อมูล User/Password ของผู้อื่นที่ไม่ได้ผ่านการเข้ารหัส

2. วิธีป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต

สำหรับการใช้งานส่วนบุคคล มีดังนี้

1. การตั้งสติก่อนเปิดเครื่อง ต้องรู้ตัวก่อนเสมอว่าเราอยู่ที่ไหน ที่นั่นปลอดภัยเพียงใด

- ก่อน login เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมั่นใจว่าไม่มีใครแอบดูรหัสผ่านของเรา

- เมื่อไม่ได้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ควรล็อกหน้าจอให้อยู่ในสถานะที่ต้องใส่ค่า login

- ตระหนักอยู่เสมอว่าข้อมูลความลับและความเป็นส่วนตัวอาจถูกเปิดเผยได้เสมอในโลกออนไลน์

2. การกำหนด password ที่ยากแก่การคาดเดา ควรมีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 ตัวอักษร และใช้อักขระพิเศษไม่ตรงกับความหมายในพจนานุกรม เพื่อให้เดาได้ยากมากขึ้นและการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป เช่นการ Login ระบบ e-mail, ระบบสนทนาออนไลน์ (chat), ระบบเว็บไซต์ที่เป็นสมาชิกอยู่ ทางที่ดีควรใช้ password ที่ต่างกันบ้างพอให้จำได้

3. การสังเกตขณะเปิดเครื่องว่ามีโปรแกรมไม่พึงประสงค์ถูกเรียกใช้ขึ้นมาพร้อมๆ กับการเปิดเครื่องหรือไม่ ถ้าสังเกตไม่ทันให้สังเกตระยะเวลาบูตเครื่อง หากนานผิดปกติอาจเป็นไปได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ติดปัญหาจากไวรัส หรือภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ ได้

4. การหมั่นตรวจสอบและอัพเดท OS หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ให้เป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันภัยในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส, โปรแกรมไฟร์วอลล์ และควรใช้ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ควรอัพเดทอินเทอร์เน็ตเบราเซอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

5. ไม่ลงซอฟต์แวร์มากเกินความจำเป็น ซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต้องลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่

- อินเทอร์เน็ตเบราเซอร์ เพื่อให้เปิดเว็บไซต์ต่างๆ

- อีเมล์เพื่อใช้รับส่งข้อมูลและติดต่อสื่อสาร

- โปรแกรมสำหรับงานด้านเอกสาร, โปรแกรมตกแต่งภาพ เสียง วีดีโอ

- โปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์และโปรแกรมไฟร์วอลล์

ซอฟต์แวร์ที่ไม่ควรมีบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ได้แก่

- ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการ Crack โปรแกรม

- ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้ในการโจมตีระบบ, เจาะระบบ (Hacking Tools)

- โปรแกรมที่เกี่ยวกับการสแกนข้อมูล การดักรับข้อมูล (Sniffer) และอื่นๆ ที่อยู่ในรูปซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ไม่เป็นที่รู้จัก

- ซอฟต์แวร์ที่ใช้หลบหลีกการป้องกัน เช่น โปรแกรมซ่อน IP Address

6. ไม่ควรเข้าเว็บไซต์เสี่ยงภัยเว็บไซต์ประเภทนี้ ได้แก่

- เว็บไซต์ลามก อนาจาร

- เว็บไซต์การพนัน

- เว็บไซต์ที่มีหัวเรื่อง “Free” แม้กระทั่ง Free Wi-Fi

- เว็บไซต์ที่ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมที่มีการแนบไฟล์พร้อมทำงานในเครื่องคอมพิวเตอร์

- เว็บไซต์ที่แจก Serial Number เพื่อใช้ Crack โปรแกรม

- เว็บไซต์ที่ให้ดาวน์โหลดเครื่องมือในการเจาะระบบ

7. สังเกตความปลอดภัยของเว็บไซต์ที่ให้บริการธุรกรรมออนไลน์ เว็บไซต์ E-Commerce ที่ปลอดภัยควรมีการทำ HTTPS มีใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีมาตรฐานรองรับ

8. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวลงบนเว็บ Social Network ชื่อที่ใช้ควรเป็นชื่อเล่นหรือฉายาที่กลุ่มเพื่อนรู้จัก และไม่ควรเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ เลขที่บัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขหนังสือเดินทาง ข้อมูลทางการแพทย์ ประวัติการทำงาน

9. ศึกษาถึงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยมีหลักการง่ายๆ ที่จะช่วยให้สังคมออนไลน์สงบสุข คือให้คำนึงถึงใจเขาใจเรา

10. ไม่หลงเชื่อโดยง่าย อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น และงมงายกับข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ควรหมั่นศึกษาหาความรู้จากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ก่อนปักใจเชื่อในสิ่งที่ได้รับรู้


กฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล

ไทยไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล!

 

หลายๆ คนคงรู้สึกแปลกใจ ที่อยู่ๆ ก็ได้รับจดหมายโฆษณาสินค้า หรือจดหมายเสนอให้สมัครเป็นสมาชิก จากบริษัทที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ส่งไปตามที่อยู่อาศัย หรือบางครั้งหนักขึ้น ถึงขนาดโทรเข้ามือถือของคุณเลยก็มี

การได้รับจดหมายหรือโทรศัพท์จากทั้งบริษัทและคนแปลกหน้าในลักษณะนี้ หลายคนคงสงสัยว่าบริษัทเหล่านี้ มีข้อมูลส่วนตัวของเราได้อย่างไร บางคนนึกย้อนไปถึงการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่เคยให้กับธนาคารหรือฝ่ายบริการบัตรเครดิตต่างๆ แม้ว่าคุณจะอยากรู้ว่าบริษัทเหล่านี้ได้ข้อมูลส่วนตัวของคุณมาได้อย่างไร ความคิดดังกล่าวก็ต้องหยุดเพียงเท่านั้น เพราะคุณคงไม่สามารถจะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ แต่นักวิจัย 2 คนคือ รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปกติ และ นคร สิริรักษ์ จัดการได้

"ผมถือว่ามีจดหมายแปลกหน้าเพียงฉบับเดียวที่ส่งมาถึงเราก็ถือเป็นการละเมิด หรือคุกคามสิทธิส่วนบุคคลแล้ว เพราะคนเราทุกคนจะต้องมีอาณาบริเวณส่วนตัว ที่รัฐหรือบุคคลอื่นไม่สามารถบุกรุกเข้ามาได้ มิใช่หมายถึงที่พักอาศัยเท่านั้น แต่มันหมายรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลด้วย" นคร ข้าราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นศ.ปริญญาเอกในโครงการปริญญาเอกกาญจนภิเษก (คปก.) สาขาวิชา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็น

และด้วยความคิดเช่นนี้จึงได้นำไปสู่โจทย์วิจัยเรื่อง กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และบังคับใช้กฎหมายเพื่อเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการปฏิรูปการแก้กฎหมายโดยมี รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปกติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

นคร เล่าว่า เป็นเรื่องน่าแปลกมากที่ประเทศไทยไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะมีที่ใกล้เคียงกันก็คือ พ...ข้อมูลข่าวสารราชการ ซึ่งมีขึ้นเพื่อสร้างความโปร่งใสในระบบราชการ โดยยังอยู่บนพื้นฐานของการเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ หากข้อมูลที่เปิดเผยไม่ทำให้เกิดผลกระทบในทางที่เสียหายต่อบุคคลอื่น ทั้งเป้าหมายและหลักการของ พ...นี้ก็ไม่อาจเอามาใช้กับข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ต้องยึดหลักการปกป้องสิทธิของบุคคล ดังนั้นข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับการปกป้อง จะเปิดเผยได้ก็ขึ้นกับแต่ละกรณี

ประเทศไทยไม่เคยมีกฎหมายนี้มาก่อน และหากยังไม่มีการแก้ไข อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย….

ในภาวะปัจจุบันที่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หมายความว่า ความเป็นส่วนตัวของคนไทยจะถูกละเมิดได้ ดังจะเห็นได้จากการมีจดหมายเสนอขายสินค้าและสมาชิกของบริษัทห้างร้านต่างๆ เข้ามาทั้งที่ไม่เคยมีการติดต่อกันมาก่อนเลย แต่จดหมายเหล่านี้กลับมีการจ่าหน้าซองชื่อผู้รับและสถานที่อยู่อย่างถูกต้อง

เหตุการณ์คล้ายคลึงกันแต่ใช้เครื่องมือต่างกันคือ มาทางเครื่องแฟกซ์หรือบางแห่งไฮเทคมาก ถึงขนาดยอมเสียเงินโทรเข้าโทรศัพท์มือถือเลยทีเดียว ซึ่งกรณีหลังนี้ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้รับสายจากบุคคลแปลกหน้าเป็นอย่างมาก การมุ่งหวังแต่จะทำการตลาดอย่างไม่ลืมหูลืมตากลับกลายเป็นการบุกรุก และคุกคามความเป็นส่วนตัวของบุคคล โดยที่ไม่มีแม้แต่กฎหมายที่จะคุ้มครองเลย

ที่สำคัญช่องว่างทางกฎหมายนี้ยังทำให้ธุรกิจผิดกฎหมายบางชนิดนำไปใช้เป็นเครื่องมือ โดยการนำข้อมูลของสมาชิกสมาคม ร้านค้า บัตรประเภทต่างๆ มาใช้เป็นข้อมูลในการหาลูกค้าในธุรกิจผิดกฎหมายบางประเภท เช่น การค้าเงิน แม้ว่าจะเป็นธุรกิจที่ผิดกฎหมายแต่ก็ยังเปิดดำเนินการอยู่ได้ โดยข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกนำมาใช้ส่วนมากจะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดของธุรกิจผิดกฎหมาย นี่ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงภัยคุกคามประชาชนโดยอาศัยช่องว่างทางกฎหมายเหล่านี้เป็นเครื่องมือ

สำหรับในอนาคตที่การแข่งขันด้านการตลาดจะยังทวีความเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้น การใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาเก็บข้อมูลทั้งในเรื่องของการรับ-จ่ายสินค้าของผู้บริโภคจะทำให้สามารถรู้ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคและนิสัยของผู้บริโภคเป็นรายบุคคลได้ ซึ่งข้อมูลเช่นนี้สามารถขายได้โดยจะเกิดกิจกรรมการขายตรงมากขึ้น พร้อมกับมีการเสนอสินค้าที่ถูกกับนิสัยและรสนิยมของผู้บริโภคแต่ละคน หลายคนอาจจะคิดว่าดีที่มีบริการเหล่านี้มาให้เลือกซื้อถึงบ้าน แต่หากพิจารณากันจริงๆแล้ว การต้องรับมือกับจดหมายจำนวนมากๆ ก็คงเป็นเรื่องที่ไม่สนุกนัก

แต่ในทางการแพทย์แล้วหากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้น จะก่อให้เกิดผลกระทบตามมามากมายมหาศาล เช่น การเจาะเลือดเพียงเล็กน้อยไม่เพียงแต่จะทำให้ได้ข้อมูลกรุ๊ปเลือดเท่านั้น แต่ยังสามารถตรวจสอบได้ถึงข้อมูลสุขภาพส่วนตัว ความผิดปกติที่สืบเนื่องจากพันธุกรรม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจมีผลต่อสถานะการทำงานของบุคคลได้ เนื่องจากอาจส่งผลเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของบริษัทตามมา ทั้งที่ข้อมูลส่วนบุคคลนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรเปิดเผย แต่การไม่มีกฎหมายควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวก็สามารถทำให้เกิดการละเมิดขึ้นได้

ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หลายประเทศในยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนีนั้น มีกฎหมายนี้เกือบ 30 ปีแล้ว โดยการผลักดันของ Professor Dr.Spiros แห่งมหาวิทยาลัย Frankfurt

"หลายคนให้ความเห็นว่า การบังคับใช้กฎหมายนี้ประชาชนต้องพร้อมด้วยและหากคนไทยไม่เห็นว่าประเด็นนี้มีความสำคัญ เขาก็คิดว่ายังไม่จำเป็นต้องรีบผลักดันกฎหมายนี้มาบังคับใช้" ความคิดเห็นของนักกฎหมายบางคนที่นครได้สัมภาษณ์ในขณะเก็บข้อมูล

ในทางตรงข้าม นครให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า

"เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคลอีกต่อไป เมื่อประเทศที่มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะไม่อนุญาตให้มีการใช้ร่วมกับประเทศที่ไม่สามารถให้หลักประกันการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ ซึ่งข้อกำหนดนี้มีผลกระทบกับสายการบินของประเทศไทยแล้วเช่นกัน ในเรื่องการร่วมมือทางธุรกิจกับสายการบินบางแห่งของเยอรมนี เพราะความแตกต่างของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของทั้ง 2 ประเทศอาจจะส่งผลถึงการใช้ข้อมูลร่วมกัน"

ความพยายามในการเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาทั้งด้านนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์จากผลงานวิจัยนี้ จึงมิได้มีความหมายเพียงเพื่อเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเท่านั้น แต่อาจส่งผลถึงการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนคนไทยโดยรวม หากผลการวิจัยนี้กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ และคาดหวังว่าจะได้รับการผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง

 

 

ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

 

         เราให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ในการคุ้มครองและเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้เป็นความลับ ตามกฎระเบียบ
ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ที่มีผลบังคับใช้ภายในประเทศและสหภาพยุโรป กรุณาอ่านสาระ
สำคัญของนโยบายการดำเนินการ ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ระบุไว้ด้านล่างนี้

 เราจะดำเนินการและนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้ เมื่อได้รับการยินยอมจากท่านแล้วเท่านั้น

 

1. การเก็บรักษาข้อมูล

เราเก็บรักษาข้อมูลที่ได้รับจากท่านในกรณีต่างๆ เช่น เมื่อท่านสมัครรับข้อมูลข่าวสารทางอีเมล
จาก Beiersdorf หรือเมื่อท่านลงทะเบียนเพื่อใช้บริการหรือติดต่อเรา 

 

นอกจากนี้ เราอาจบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจของท่าน โดยวิเคราะห์จากเว็บเพจที่ท่านเข้าชม
การเชื่อมโยงที่ท่านคลิกและการกระทำอื่นๆ ที่ท่านดำเนินการบนเว็บไซต์และอีเมลที่ได้รับจากเรา

 

ระบบจะสร้างแฟ้มประวัติของท่านไว้ในฐานข้อมูล ตั้งแต่ครั้งแรกที่ท่านติดต่อเราและจะจัดเก็บข้อมูล
ที่ได้รับหลังจากนี้ทั้งหมดไว้เช่นกัน ข้อมูลที่ได้รับจากท่านจะเป็นประโยชน์กับเรา ในการมอบข้อเสนอ
ได้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้นในอนาคต

 

 

2. การใช้ข้อมูล

เรานำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้ เพื่อประโยชน์ในการแจ้งข่าวสารหรือสิทธิพิเศษให้ท่านทราบ
ทางอีเมล เพื่อตอบคำถามของท่านและเพื่อการวิจัยทางการตลาดเชิงสถิติเท่านั้น

 

 

3. ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูล

เราเก็บรักษาข้อมูลที่ได้รับจากท่านไว้ ภายในระยะเวลาที่มิได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน หากท่านไม่
ประสงค์ให้นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้อีกต่อไป เราพร้อมปฏิบัติตามโดยทันที (โปรดอ่านข้อ 5)

 

 

4. ท่านสามารถเรียกดูข้อมูลที่เรารวบรวมไว้ได้หรือไม่?

ท่านสามารถเรียกดูข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ตลอดเวลา

 

 

5. ท่านสามารถลบข้อมูลที่จัดเก็บไว้ได้หรือไม่

ท่านสามารถเลือกลบข้อมูลของท่านบางส่วนหรือทั้งหมดได้ตลอดเวลา โดยแจ้งความประสงค์ลงใน
แบบฟอร์มติดต่อทางอีเมล เราจะดำเนินการโดยทันที ทั้งนี้ เราจะปิดการใช้งานไฟล์ข้อมูลของท่าน
แทนการลบทิ้ง เพื่อให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด

 

 

6. การใช้ คุกกี้” 

คุกกี้เป็นไฟล์ข้อความขนาดเล็ก ที่อาจถูกเก็บลงในฮาร์ดดิสก์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลที่คุกกี้
บันทึกไว้ทำให้ท่านใช้งานเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น และช่วยให้หน้าเว็บเพจของเราแสดงผลได้ถูกต้องรวดเร็ว
คุกกี้ไม่มีความสามารถในการระบุตัวบุคคลได้

 

ท่านสามารถเลือกปิดการใช้งานคุกกี้ โดยเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า Browser ของท่านให้เหมาะสม
สามารถอ่านคำแนะนำได้จากไฟล์คู่มือการใช้อินเตอร์เน็ต Browser ของท่าน

 

 

7. การใช้นามแฝงหรือไม่ระบุชื่อ 

ท่านสามารถใช้นามแฝงหรือไม่ระบุชื่อเมื่อใช้งานบนเว็บไซต์ของเราได้ อย่างไรก็ตามเราจะไม่สามารถ
นำเสนอบริการบางประเภทให้แก่ท่านได้อย่างสมบูรณ์ หากไม่ทราบชื่อและที่อยู่ของท่าน

 

 

8. การเปิดเผยข้อมูลให้แก่บุคคลที่สาม 

เราจะไม่เปิดเผยหรือส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่บุคคลที่สาม เราไม่ให้เช่า ขาย หรือแลก
เปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านกับผู้อื่นหรือบริษัทอื่นแต่อย่างใด

 

ในกรณีที่มีการว่าจ้างผู้ให้บริการหรือบริษัทอื่นที่เป็นบุคคลภายนอก เป็นผู้ทำการประมวลข้อมูลตาม
มาตรการ Directive 95/46/EC บริษัทเหล่านั้น ต้องปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและไม่นำไปใช้
เพื่อการอื่นโดยเด็ดขาดและต้องปฏิบัติงานภายใต้ข้อตกลงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและนโยบาย
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลนี้ด้วย

 

 

9. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล  

เราเก็บรักษาข้อมูลทั้งหมดไว้ในเซิร์ฟเวอร์ที่มีความปลอดภัยระดับสูง และป้องกันการเข้าถึงหรือการนำ
ข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

 

หากท่านมีข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลข้อมูลทางอีเมลได้ตลอดเวลา

 

กรณีศึกษา

ประสบการณ์ที่ผ่านการพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับ

          Recall มีประสบการณ์กว้างขวางระดับโลกอย่างแท้จริงในทุกอุตสาหกรรม โดยรวมถึงบริการด้านการเงิน การประกันภัย การดูแลสุขภาพ กฎหมาย หน่วยงานรัฐ การผลิต บริการด้านธุรกิจ ความบันเทิง และสินค้าอุปโภคบริโภค/สินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน อ่านกรณีศึกษาข้างล่างนี้ซึ่งเสนอเรื่องราวบางส่วนจากลูกค้าประมาณ 80,000 รายที่เราเป็นพันธมิตรทางธุรกิจด้วยจากทั่วโลก

 

 

อ้างอิง








 

 

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น