วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556



บทที่ 5 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

          เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ เพราะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นสะท้อนถึงธรรมาภิบาลและความเป็นประชาธิปไตยของประเทศหรือองค์กรนั้นๆ เพราะผู้ปกครองที่เปิดใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชน หรือคนในองค์กรทั้งด้านบวกและด้านลบแล้ว ย่อมเป็นโอกาสในการนำไปปรับปรุงประเทศ องค์กร และตนเองให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป 

บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2550 มาตรา 45"บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน" มาตรา 56 "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ..."มาตรา 57 "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ...และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว..." รวมถึงขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน อาทิ "บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก"

หน่วยงานภาครัฐ และนักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการถือเป็นบุคคลสาธารณะ (Public figure) กล่าวคือเป็นบุคคลที่ให้บริการสาธารณะหรือเกี่ยวข้องกับประชาชนในฐานะที่เป็นข้าราชการประจำ เช่น ข้าราชการฝ่ายปกครอง ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการครู หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สังกัดส่วนราชการต่างๆ เพราะนโยบายหรือการปฏิบัติงานของเขากระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป การเป็นองค์กรและบุคคลสาธารณะประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์โดยชอบตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และหน่วยงาน/บุคคลก็มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะชี้แจงให้ผู้แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์นั้นรับทราบข้อเท็จจริงตามที่เห็นสมควร

แต่การแสดงความคิดเห็นใดๆ ก็พึงระวังให้การแสดงความเห็นเป็นไปโดยชอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2550 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยคำนึงว่าความคิดเห็น ที่แสดงออกไปนั้น โดยเฉพาะที่แสดงผ่านทางเว็บไซต์ควรงดเว้น การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ 

และตระหนักถึงบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550 มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ 

(1)
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน 
(2)
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3)
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4)
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5)
เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

โทษ: ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 15 ผู้ให้บริการใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน

โทษ: ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14 (เหตุผล - ผู้ให้บริการในที่นี้มุ่งประสงค์ถึงเจ้าของเว็บไซต์ ซึ่งมีการพิจารณาว่าควรต้องมีหน้าที่ลบเนื้อหาอันไม่เหมาะสมด้วย)

ดังนั้น การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางเว็บไซต์จะต้องคำนึงถึงประเด็นดังกล่าวข้างต้นด้วย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับเรื่องของการเผยแพร่ นอกจากดูเรื่องกฏหมายรัฐธรรมนูญแล้ว ยังต้องดูเรื่องของกฎหมายอื่นประกอบด้วย เช่นในเรื่องการละเมิด ถึงบุคคลที่สาม หรือกฏหมายเกี่ยวกับการนำเสนอสื่อในระบบสารสนเทศ หรือกฏหมายอินเตอร์เน็ต ซึ่งต้องระมัดระวัง กล่าวคือ บางกรณีอาจจะไปเข้าหลักเกณฑ์ในกฏหมายลูกบางฉบับ เพราะการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต โอกาสที่บุคคลที่ถูกพาดพิง หรือกล่าวหาจะมาแก้ต่างนั้นลำบาก หรือแม้แต่จะสามารถหาต้นตอของการโพสหรือเผยข้อมูลได้ก็ต้องใช้เวลา แม้ว่าการลบ หรือไม่ลบจะขึ้นอยู่ในการตัดสินใจของผู้ดูแลก็ตาม และแม้ผู้ที่ถูกพาดพิงจะสามารถแก้ไขข้อกล่าวหาได้ก็ตาม ทำให้เรื่องแบบนี้ค่อนข้างบอบบางในมุมมองทางกฏหมาย

อย่างไรก็ตามเพื่อให้มั่นใจว่าทุกความเห็นจะได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.. 2550 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน จึงขอความร่วมมือให้ผู้ที่แสดงความเห็นทุกท่าน โปรด "ระบุชื่อ-" ไว้ในการแสดงความเห็นทุกครั้ง 

และหากมีเหตุให้ต้องลบความเห็นใดๆ ในเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐ จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2551 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.. 2546 (โดยบันทึกเหตุผลของการลบนั้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร) ซึ่งมีใจความสำคัญโดยสรุปว่า "การสั่งราชการโดยปกติให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชามีความจำเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้ผู้รับคำสั่งนั้นบันทึกคำสั่งด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเมื่อได้ปฏิบัติราชการตามคำสั่งดังกล่าวแล้วให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่งราชการทราบ ในบันทึกให้อ้างอิงคำสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย...(ผู้ใต้บังคับบัญชา) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันที เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติ ตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม" เพราะหากพิสูจน์ได้ว่าการที่เจ้าหน้าที่รัฐลบความเห็นที่ชอบด้วยกฎหมายของประชาชนที่ส่งเข้ามาทางเว็บไซต์ อาจเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความเห็น อันเป็นเสรีภาพที่ได้รับรองไว้อย่างชัดแจ้งโดยรัฐธรรมนูญฯ พ.. 2550 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน การกระทำดังกล่าวอาจนำไปสู่ความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 2 เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และัติไว้ว่าเป็นความผิดอันเกี่ยวเนื่องกับการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความเห็นของประชาชน

ดังนั้น การปกป้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน จึงเป็นสิ่งที่เราควรช่วยกันปกป้อง ดังที่มีผู้กล่าวว่า ..."คนที่กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง เราควรจะสนับสนุน ไม่อย่างนั้นประเทศชาติจะเดินไปได้อย่างไร อีกหน่อยใครจะออกมาทักท้วงอะไร ก็ต้องคิดแล้วคิดอีกเป็นร้อยรอบเพราะเดี๋ยวคนโน้นคนนี้ก็จะมาตำหนิ สู้อยู่เฉยๆ ไม่ดีกว่าหรือ ขอให้คนที่วิจารณ์ในทางลบช่วยมีวิจารณญาณแยกแยะด้วย..."

กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

          ปัญหาคาใจของบรรดาข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มักจะถูกต่อว่าหรือตำหนิอยู่เสมอว่าคุณเป็นข้าราชการ คุณออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองได้อย่างไรมิหนำซ้ำบรรดานักการเมืองทั้งหลายที่มีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และลิ่วล้อทั้งหลายก็ออกมาสำทับอีกว่าคุณเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา แต่กลับออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านผู้บังคับบัญชาของตนนั้นเข้าข่ายกระทำผิดวินัยนะจะบอกให้
       
ปัญหาคาใจต่างๆเหล่านี้มีมานานแล้ว บรรดาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งหลายยกเว้นอาจารย์มหาวิทยาลัยบางคน(ต้องย้ำว่าบางคน) จึงออกอาการกล้าๆกลัวๆที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเพราะเกรงจะถูกลงโทษทางวินัย ทั้งที่เป็นสิทธิพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับไหนๆ ที่ถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายอื่นไม่ว่าจะเป็นกฎ ก..หรือกฎอื่นใดย่อมไม่อาจไปหักล้างได้
       
ผมจะขอนำบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในมาตราที่เกี่ยวข้องมาแสดงให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีสิทธิมีเสียงในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไร
        “
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
        “
มาตรา ๓๑ บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัยหรือจริยธรรม
        “
มาตรา ๔๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
       
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน...........
       “
มาตรา ๖๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์.กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น
       
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
       
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนทางเศรษฐกิจ
       
       
จากบทบัญญัติที่ยกมาจะเห็นได้ว่าบรรดาข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็มีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป เว้นเสียแต่จะไปเข้าข้อยกเว้นบางประการที่ว่าไว้อย่างชัดแจ้งและเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อยกเว้นที่ว่านี้ต้องออกมาโดยชอบรัฐธรรมนูญเช่นกัน มิใช่อยากจะออกข้อยกเว้นอะไร ก็ออกมาตามอำเภอใจ
       
เมื่อเรานำมาพิจารณาในเนื้อหาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นประกอบเข้ากับหลักนิติรัฐที่ว่าบรรดาการกระทำทั้งหลายของเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องชอบด้วยกฎหมาย และกฎหมายที่ว่านี้ต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็หมายถึง พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวง ฯลฯ ที่ออกมาหรือที่มีอยู่แล้วบัญญัติข้อห้าหรือข้อยกเว้นไว้
       
แต่เนื้อหาที่เป็นข้อยกเว้นนั้นจะไปขัดในหลักการใหญ่ในรัฐธรรมนูญไม่ได้ ตัวอย่างเช่น หลักการตามมาตรา ๑ ที่ว่าประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวหรือ รัฐเดี่ยว การที่จะออกกฎหมายจัดรูปแบบการปกครองไม่ว่าจะเป็นส่วนภูมิภาคหรือส่วนท้องถิ่น แม้กระทั่งการปกครองรูปแบบพิเศษแบ่งย่อยไปเท่าไรก็ได้ แต่ต้องยังอยู่ในหลักการใหญ่ที่ว่าต้องเป็นรัฐเดี่ยวเช่นเดิม และเช่นเดียวกันมาตรการหรือกฎระเบียบที่นำมาใช้กับข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองก็ย่อมที่จะไปขัดหลักการใหญ่ที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ได้
       
หลายคนเข้าใจว่าเมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติข้อยกเว้นไว้ก็เลยออกมาตรการหรือกฎระเบียบมาเสียเละเทะจนขัดต่อหลักการใหญ่ ซึ่งในที่นี้หมายถึงหลักการขั้นพื้นฐานที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั่นเอง และการที่จะตีความว่ากฎหรือระเบียบใดขัดหรือไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ โดยศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจในการวินิจฉัยว่ากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติขึ้นไปซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติธรรมดา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือพระราชกำหนดว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนศาลปกครองก็มีอำนาจในการวินิจฉัยมาตรการหรือกฎหมายในลำดับรองลงมาซึ่งออกโดยฝ่ายบริหารซึ่งได้แก่ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวง ฯลฯ ว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ มิใช่หน้าที่ของฝ่ายการเมืองหรือผู้บังคับบัญชาจะไปตีขลุมว่าเมื่อรัฐธรรมนูญบอกว่า ทั้งนี้ ตามกฎหมายบัญญัติหรือ เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้วมาตรการหรือกฎหมายที่นำมาใช้ย่อมไม่ขัดรัฐธรรมนูญเสมอ จึงไม่ถูกต้อง
       
บรรดาข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นก็คือประชาชน ย่อมมีสิทธิมีเสียงเช่นเดียวกับประชาชนอื่นที่มิใช่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพียงแต่ถูกจำกัดบทบาทหน้าที่ไว้บางประการเท่านั้น เช่น ใส่เสื้อที่มีตราสัญลักษณ์ของพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น มิใช่ว่าจะทำอะไรไม่ได้เลย และแน่นอนว่าการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการโดยสุจริตไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือเขียน ย่อมไม่เข้าข่ายการกระทำที่ต้องห้ามอย่างแน่นอน เพราะขัดต่อหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบนิติรัฐอย่างชัดแจ้งนั่นเอง
       
       
ฉะนั้น การที่นักการเมืองที่เป็นผู้บังคับบัญชา รวมไปถึงผู้ที่หงอต่ออำนาจทางการเมืองหรือพยายามเอาใจนักการเมืองโดยการออกมาปรามหรือข่มขู่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าจะดำเนินการทางวินัยต่อข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองนั้นคงต้องกลับไปทบทวนเสียใหม่ เพราะแทนที่นักการเมืองที่เป็นผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการทางวินัยต่อข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเหล่านั้น แต่เขาเหล่านั้นเองนั่นแหละจะต้องเป็นผู้ถูกดำเนินคดีเสียเองฐานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ



ความคิดเห็นที่กฎหมายไม่คุ้มครอง

ไทยไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 

          หลายๆ คนคงรู้สึกแปลกใจ ที่อยู่ๆ ก็ได้รับจดหมายโฆษณาสินค้า หรือจดหมายเสนอให้สมัครเป็นสมาชิก จากบริษัทที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ส่งไปตามที่อยู่อาศัย หรือบางครั้งหนักขึ้น ถึงขนาดโทรเข้ามือถือของคุณเลยก็มี

การได้รับจดหมายหรือโทรศัพท์จากทั้งบริษัทและคนแปลกหน้าในลักษณะนี้ หลายคนคงสงสัยว่าบริษัทเหล่านี้ มีข้อมูลส่วนตัวของเราได้อย่างไร บางคนนึกย้อนไปถึงการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่เคยให้กับธนาคารหรือฝ่ายบริการบัตรเครดิตต่างๆ แม้ว่าคุณจะอยากรู้ว่าบริษัทเหล่านี้ได้ข้อมูลส่วนตัวของคุณมาได้อย่างไร ความคิดดังกล่าวก็ต้องหยุดเพียงเท่านั้น เพราะคุณคงไม่สามารถจะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ แต่นักวิจัย 2 คนคือ รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปกติ และ นคร สิริรักษ์ จัดการได้

"ผมถือว่ามีจดหมายแปลกหน้าเพียงฉบับเดียวที่ส่งมาถึงเราก็ถือเป็นการละเมิด หรือคุกคามสิทธิส่วนบุคคลแล้ว เพราะคนเราทุกคนจะต้องมีอาณาบริเวณส่วนตัว ที่รัฐหรือบุคคลอื่นไม่สามารถบุกรุกเข้ามาได้ มิใช่หมายถึงที่พักอาศัยเท่านั้น แต่มันหมายรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลด้วย" นคร ข้าราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นศ.ปริญญาเอกในโครงการปริญญาเอกกาญจนภิเษก (คปก.) สาขาวิชา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็น

และด้วยความคิดเช่นนี้จึงได้นำไปสู่โจทย์วิจัยเรื่อง กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และบังคับใช้กฎหมายเพื่อเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการปฏิรูปการแก้กฎหมายโดยมี รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปกติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

นคร เล่าว่า เป็นเรื่องน่าแปลกมากที่ประเทศไทยไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะมีที่ใกล้เคียงกันก็คือ พ...ข้อมูลข่าวสารราชการ ซึ่งมีขึ้นเพื่อสร้างความโปร่งใสในระบบราชการ โดยยังอยู่บนพื้นฐานของการเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ หากข้อมูลที่เปิดเผยไม่ทำให้เกิดผลกระทบในทางที่เสียหายต่อบุคคลอื่น ทั้งเป้าหมายและหลักการของ พ...นี้ก็ไม่อาจเอามาใช้กับข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ต้องยึดหลักการปกป้องสิทธิของบุคคล ดังนั้นข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับการปกป้อง จะเปิดเผยได้ก็ขึ้นกับแต่ละกรณี

ประเทศไทยไม่เคยมีกฎหมายนี้มาก่อน และหากยังไม่มีการแก้ไข อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย….

ในภาวะปัจจุบันที่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หมายความว่า ความเป็นส่วนตัวของคนไทยจะถูกละเมิดได้ ดังจะเห็นได้จากการมีจดหมายเสนอขายสินค้าและสมาชิกของบริษัทห้างร้านต่างๆ เข้ามาทั้งที่ไม่เคยมีการติดต่อกันมาก่อนเลย แต่จดหมายเหล่านี้กลับมีการจ่าหน้าซองชื่อผู้รับและสถานที่อยู่อย่างถูกต้อง

เหตุการณ์คล้ายคลึงกันแต่ใช้เครื่องมือต่างกันคือ มาทางเครื่องแฟกซ์หรือบางแห่งไฮเทคมาก ถึงขนาดยอมเสียเงินโทรเข้าโทรศัพท์มือถือเลยทีเดียว ซึ่งกรณีหลังนี้ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้รับสายจากบุคคลแปลกหน้าเป็นอย่างมาก การมุ่งหวังแต่จะทำการตลาดอย่างไม่ลืมหูลืมตากลับกลายเป็นการบุกรุก และคุกคามความเป็นส่วนตัวของบุคคล โดยที่ไม่มีแม้แต่กฎหมายที่จะคุ้มครองเลย

ที่สำคัญช่องว่างทางกฎหมายนี้ยังทำให้ธุรกิจผิดกฎหมายบางชนิดนำไปใช้เป็นเครื่องมือ โดยการนำข้อมูลของสมาชิกสมาคม ร้านค้า บัตรประเภทต่างๆ มาใช้เป็นข้อมูลในการหาลูกค้าในธุรกิจผิดกฎหมายบางประเภท เช่น การค้าเงิน แม้ว่าจะเป็นธุรกิจที่ผิดกฎหมายแต่ก็ยังเปิดดำเนินการอยู่ได้ โดยข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกนำมาใช้ส่วนมากจะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดของธุรกิจผิดกฎหมาย นี่ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงภัยคุกคามประชาชนโดยอาศัยช่องว่างทางกฎหมายเหล่านี้เป็นเครื่องมือ

สำหรับในอนาคตที่การแข่งขันด้านการตลาดจะยังทวีความเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้น การใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาเก็บข้อมูลทั้งในเรื่องของการรับ-จ่ายสินค้าของผู้บริโภคจะทำให้สามารถรู้ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคและนิสัยของผู้บริโภคเป็นรายบุคคลได้ ซึ่งข้อมูลเช่นนี้สามารถขายได้โดยจะเกิดกิจกรรมการขายตรงมากขึ้น พร้อมกับมีการเสนอสินค้าที่ถูกกับนิสัยและรสนิยมของผู้บริโภคแต่ละคน หลายคนอาจจะคิดว่าดีที่มีบริการเหล่านี้มาให้เลือกซื้อถึงบ้าน แต่หากพิจารณากันจริงๆแล้ว การต้องรับมือกับจดหมายจำนวนมากๆ ก็คงเป็นเรื่องที่ไม่สนุกนัก

แต่ในทางการแพทย์แล้วหากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้น จะก่อให้เกิดผลกระทบตามมามากมายมหาศาล เช่น การเจาะเลือดเพียงเล็กน้อยไม่เพียงแต่จะทำให้ได้ข้อมูลกรุ๊ปเลือดเท่านั้น แต่ยังสามารถตรวจสอบได้ถึงข้อมูลสุขภาพส่วนตัว ความผิดปกติที่สืบเนื่องจากพันธุกรรม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจมีผลต่อสถานะการทำงานของบุคคลได้ เนื่องจากอาจส่งผลเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของบริษัทตามมา ทั้งที่ข้อมูลส่วนบุคคลนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรเปิดเผย แต่การไม่มีกฎหมายควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวก็สามารถทำให้เกิดการละเมิดขึ้นได้

ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หลายประเทศในยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนีนั้น มีกฎหมายนี้เกือบ 30 ปีแล้ว โดยการผลักดันของ Professor Dr.Spiros แห่งมหาวิทยาลัย Frankfurt

"หลายคนให้ความเห็นว่า การบังคับใช้กฎหมายนี้ประชาชนต้องพร้อมด้วยและหากคนไทยไม่เห็นว่าประเด็นนี้มีความสำคัญ เขาก็คิดว่ายังไม่จำเป็นต้องรีบผลักดันกฎหมายนี้มาบังคับใช้" ความคิดเห็นของนักกฎหมายบางคนที่นครได้สัมภาษณ์ในขณะเก็บข้อมูล

ในทางตรงข้าม นครให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า

"เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคลอีกต่อไป เมื่อประเทศที่มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะไม่อนุญาตให้มีการใช้ร่วมกับประเทศที่ไม่สามารถให้หลักประกันการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ ซึ่งข้อกำหนดนี้มีผลกระทบกับสายการบินของประเทศไทยแล้วเช่นกัน ในเรื่องการร่วมมือทางธุรกิจกับสายการบินบางแห่งของเยอรมนี เพราะความแตกต่างของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของทั้ง 2 ประเทศอาจจะส่งผลถึงการใช้ข้อมูลร่วมกัน"

ความพยายามในการเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาทั้งด้านนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์จากผลงานวิจัยนี้ จึงมิได้มีความหมายเพียงเพื่อเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเท่านั้น แต่อาจส่งผลถึงการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนคนไทยโดยรวม หากผลการวิจัยนี้กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ และคาดหวังว่าจะได้รับการผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง

 

ประเด็นด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

 
Description: http://www.manager.co.th/images/blank.gif
Description: http://www.manager.co.th/images/blank.gif
Description: http://www.manager.co.th/images/blank.gif
Description: http://www.manager.co.th/images/blank.gif
Description: http://www.manager.co.th/images/blank.gif
Description: http://www.manager.co.th/images/blank.gif
Description: http://www.manager.co.th/images/blank.gif
Description: http://www.manager.co.th/images/blank.gif

 

Description: http://www.manager.co.th/images/TabOver.gif
Description: http://www.manager.co.th/images/blank.gif
สืบเนื่องจากกรณี ปอท.เรียกตัวผู้ใช้เฟซบุ๊กที่โพสต์ข่าวลือปฏิวัติ พร้อมทั้งการออกข่าวจะควบคุมแอปพลิเคชันไลน์ เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างตื่นตัวของการคุกคามเสรีภาพของประชาชน
      
        จนเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่งานเสวนาสาธารณะในหัวข้อ “เสรีภาพในสื่อสังคมออนไลน์กับประเด็นความมั่นคง จัดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถกเถียงถึงปัญหานี้ในหลายแง่มุมที่เกิดขึ้น ทั้งในแง่มุมของภาครัฐอย่าง ปอท. นักกฎหมาย จนถึงผู้ใช้งานที่ตกเป็นจำเลยของสังคม
      
        เสรีภาพในโลกออนไลน์มีความอ่อนไหวต่อความมั่นคงอย่างไร? ประเด็นใดอ่อนไหว ประเด็นใดควรนำมาถกเถียง ความหมายที่แท้จริงของความมั่นคงในสายตาของภาครัฐและประชาชนคืออะไร?
      
       ข่าวลือ - ความคิดเห็นและความมั่นคง
      
        หลังจาก เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการข่าวการเมืองและความมั่นคงสถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอสกับผู้ใช้งานเฟซบุ๊กอีก 3 คนถูกเรียกตัวโดย กองบัญชาการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(ปอท.) เกิดเป็นข่าวที่สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชน ส่วนหนึ่งที่น่ากลัวคือทั้ง 4 ตกเป็นจำเลยของสังคมไปแล้ว ทั้งนี้บรรณาธิการข่าวการเมืองและความมั่นคงได้เผยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า มาจากการที่เขาโพสต์ข่าวลือเพื่อชี้แจงถึงความคิดเห็นด้วยสำนวนเหมือนคุยกับเพื่อน
      
        “เพื่อนๆ หรือคนที่ติดตามผมในเฟซบุ๊กส่วนตัว เขาก็จะติดตามข่าวสารด้วย ดังนั้นเราที่ทำงานข่าวก็ต้องมีโพสต์เกี่ยวกับข่าวบ้าง หลายอย่างที่รายงานในข่าวไม่ได้ บางทีก็มาพูดคุยกันสนุกเพื่อแลกเปลี่ยนกันในเฟซบุ๊ก พอมีข่าวลือเรื่องปฏิวัติผมก็โพสต์ถึง และในโพสต์นั้นผมก็แสดงความคิดเห็นด้วยว่า ผมไม่เชื่อว่าจะมีการปฏิวัติเกิดขึ้น
      
        แต่เมื่อมองในมุมกฎหมายแล้ว ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ นักสื่อสารมวลชนอิสระและนักกฎหมาย เห็นว่าสิ่งหนึ่งที่จำเป็นคือการอยู่ร่วมกับกฎหมายอย่างรู้เท่าทัน เขายังมองด้วยว่า เสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยนั้นถือว่ามีมากอยู่แล้ว
      
        “ความเท็จกับการแสดงความเห็นเป็นคนละเรื่องกัน...ในกรณีนี้ผมไม่ได้มองว่ามันเป็นการแสดงความเห็นที่ชอบธรรม แต่มันเป็นการปล่อยข้อมูลเท็จ การอยู่กับกฎหมายอย่างฉลาดไม่ตกเป็นจำเลยนั้น การโพสต์ก็ไม่จำเป็นโพสต์ข่าวลือให้คนตระหนก ถ้าโพสต์แค่ว่า ข่าวที่ลือกันอยู่เกี่ยวกับการปฏิวัติ...มันไม่เป็นความจริงนะ แค่นี้ก็ไม่โดนแล้ว
      
        ในส่วนงานด้านการดำเนินคดี พ.ต.ท.สันติพัฒน์ พรหมะจุล รองผู้กำกับการกลุ่มงานสนับสนุนคดีเทคโนโลยี กองบัญชาการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(ปอท.) เผยว่าสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้คือการเรียกตัวมาสอบปากคำ ซักถามถึงเจตนายังไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาใดๆ
      
        “เราเรียกคุยเพื่อที่จะขอทราบเจตนาในการโพสต์ก่อนเพื่อพิจารณาความผิด หากไม่มีเจตนาปลุกปั่นเพื่อกระทบต่อความมั่นคงก็คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร มันมีกรณีของผู้หวังดีที่อาจจะโพสต์ข้อความหมิ่นหรือกระทบต่อความมั่นคงแล้วบอกว่า มันมีการโพสต์แบบนี้นะ มีเจตนาเพื่อเตือนหรือเพื่อแจ้งว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ เราก็ต้องดำเนินการเรียกมาสอบเพราะผิดฐานโพสต์ข้อความเหมือนกัน แต่ต้องมาคุยว่ามีเจตนาอย่างไร
      
        ในส่วนของประเด็นความมั่นคง เขาเผยว่า ไม่ใช้เพียงความมั่นคงของประเทศ แต่รวมถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงของรัฐบาล และความมั่นคงในหลายๆด้านด้วย ซึ่งที่ผ่านมานั้นมีผู้ที่โพสต์ข้อความกระทบเศรษฐกิจทำให้หุ้นตกก็มีการดำเนินคดีแล้ว
      
       ประเด็นอ่อนไหวของประเทศ
      
        ต่อคดีหมิ่นสถาบันที่เป็นปัญหาพ.ต.ท.สันติพัฒน์ได้มีการดำเนินคดีอยู่ตลอดเวลาในการตรวจสอบและสั่งปิดเว็บไซต์ซึ่งต้องใช้เวลา ในการสั่งปิดนั้นเมื่อก่อนจำเป็นต้องใช้เวลานานถึง 3 เดือน โดยมีกระบวนการตั้งแต่ปอท.เสนอแก่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ให้รัฐมนตรีเห็นชอบแล้วส่งไปยังศาลก่อนจะมีคำสั่งปิดกั้น
      
        “ปัจจุบันก็เร็วขึ้น เราส่ง URL ให้กับICT ทำการบล็อตเว็บไซค์ได้ แต่บางทีจะมีการหลุดบ้างจากที่ URL ในการเข้าเว็บไซค์จากมือถือและแท็ปเล็ตเป็นคนละตัวกัน
      
        เขาเผยว่า ถึงตอนนี้ก็มีการขอความร่วมมือจากเว็บไซต์อื่นจากทั่วโลกเพื่อสามารถดำเนินการได้ โดยการดำเนินคดีนั้นหากเป็นเว็บไซต์ที่เปิดในไทย ก็จะมีการเรียกตัวเจ้าของเว็บไซต์ที่เป็นปัญหามาดำเนินคดี แต่หากเป็นเว็บไซต์ที่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศก็ต้องใช้เวลาในการติดต่อขอความร่วมมือ
      
        “วิดีโอในยูทิวบ์ก็มีการเรียกร้องมากจนวิดีโอหลายตัวที่เข้าข่ายหมิ่นในประเทศไทยก็จะได้รับการบล็อกหรือบางทีก็ลบให้โดยอัตโนมัติ แต่วิดีโอที่บล็อกถ้าออกนอกประเทศไทยเขาก็จะดูได้ เพราะกูเกิ้ลที่เป็นเจ้าของยูทิวบ์เขาขึ้นกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และที่นั่นไม่มีกฎหมายหมิ่น เขาถือเป็นสิทธิเสรีภาพ
      
        ในมุมของนักสื่อสารมวลชนและนักกฎหมายอย่าง ศิลป์ฟ้า แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ทุกประเทศมีประเด็นอ่อนไหวของแต่ละประเทศ การแสดงความเห็นจึงยังคงต้องมีกรอบเกณฑ์ไม่ใช่ว่าจะมีเสรีภาพโดยจะทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น ประเทศที่เชิดชูเสรีภาพอย่างอเมริกาหากมีการพูดกลุ่มก่อการร้ายมันก็เป็นประเด็นที่กระทบต่อความมั่นคงเช่นกัน
      
       สิทธิกับความมั่นคง
      
        ปัญหาของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นั้นถูกพูดมาตลอด อาทิตย์ สุริยวงศ์กุล เครือข่าวพลเมืองเน็ต เล่าถึงปัญหาโดยสรุปว่า เกิดจากการตีความนำมาใช้ที่เป็นปัญหา เพราะแรกเริ่มของเจตนาที่ห้ามไม่ให้นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบนั้นคือการจัดการกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อย่างการแฮกคอมพิวเตอร์ การทำหน้าเว็บปลอม หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในการแทรกแซงคอมพิวเตอร์ของภาครัฐอย่างการทำให้ไฟแดงตามถนนทำงานผิดพลาด แต่พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์กลับถูกนำมาใช้เป็นกฎหมายหมิ่นประมาทซึ่งไม่ถูกต้องตามเจตนาเดิม
      
        “ผมต้องอ้างรัฐธรรมนูญก่อน แม้จะรู้ว่ามันไม่ค่อยมีความหมายสักเท่าไหร่ เขาเอ่ยอย่างตลกก่อนชี้ว่ารัฐธรรมนูญของประเทศไทยระบุให้บุคคลมีสิทธิ์ที่จะสื่อสารถึงกันโดยที่รัฐจะไปรับรู้หรือแทรกแซงไม่ได้ แต่แน่นอนว่า สิทธิเสรีภาพนั้นก็มีข้อยกเว้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ด้วย
      
        โดยเขาอ้างอิงถึงหลักปฏิบัติของสหประชาชาติที่มีด้วย 3 ข้อเพื่อให้ข้อยกเว้นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการละเมิดสิทธิ์ของประชาชน 1. คาดหมายได้โปร่งใส มีกฎหมายรองรับชัดเจน 2. ชอบธรรม มีเหตุให้ทำได้ 3. เป็นมาตรการสุดท้าย ก่อนหน้าที่จะทำแบบนี้อาจใช้วิธีอื่นอย่างเคาต์เตอร์อินฟอร์เมชันที่ศอฉ.เคยใช้ช่วงมีชุมนุมปี 56
      
        “ผมเห็นว่า กรณีที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เข้าหลัก 3 ข้อนี้เลย เขาเอ่ยและพูดถึงประเด็นความมั่นคงต่อว่า “หากพูดถึงความมั่นคงในด้านอื่นๆ จริงๆก็มีกฎหมายอื่นที่จะมาจับ อย่างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจก็ควรจะใช้กฎหมายตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะมาจับมากกว่า
      
        ในส่วนของการเข้าไปขอความร่วมมือกับผู้ให้บริการแอปฯ ไลน์ของศอป.ที่หลายคนเป็นกังวลถึงสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร พ.ต.ท.สันติพัฒน์ อธิบายว่า การเข้าไปขอความร่วมมือครั้งนี้ไม่ได้ไปขอดูข้อความทั้งหมด แต่ขอเพียงรายละเอียดของผู้ใช้งานที่มีปัญหาเฉยๆ
      
        “มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะตรวจสอบข้อความไลน์ของคนทั้งประเทศ เราคงทำงานกันไม่ไหวขนาดนั้น ที่เราขอความร่วมมือคือเมื่อมีผู้ร้องทุกข์อย่างถูกหลอกลวงผ่านทางแอปฯไลน์ เขาก็จะมีข้อความที่เป็นหลักฐานมาให้เราแล้ว ดังนั้นเราไม่ต้องไปขอดูข้อความ ที่เราขอคือรายละเอียดของผู้ใช้งานไลน์ที่มีปัญหาเพื่อจะได้ระบุตัวได้ เพราะบางคนอาจจะใช้รูปปลอม หรือข้อมูลปลอม
      
        อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือการใช้อำนาจในการเรียกตัวของภาครัฐ อาทิตย์มองประเด็นนี้ในเชิงวัฒนธรรมว่า เป็นการใช้อำนาจในการปรามที่สร้างความหวาดหวั่นให้กับสังคม โดยประเด็นทำนองนี้เคยมีมาก่อนอย่างในกรณีซีรีย์ฮอร์โมนที่ผู้ผลิตถูกภาครัฐเรียกไปพบ เช่นเดียวกับกรณีโพสต์ข่าวลือปฏิวัติ
      
        “มันอาจจะเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทย เพราะการเรียกตัวก็เหมือนเป็นการใช้อำนาจอย่างหนึ่งของภาครัฐ และผู้ถูกเรียกตัวก็จะรู้สึกและถูกมองจากสังคมแล้วว่า ต้องทำอะไรผิดแน่ๆ มันก็ถูกสังคมตัดสินไปแล้วระดับหนึ่ง
 
กรณีศึกษา
อียู จัดเสวนา ศึกษากรณี มาตรา 112
 
สหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย จัดเสวนา "การสร้างความปรองดองและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น" โดยยกกรณีกฎหมายอาญามาตรา 112 ในการตัดสินคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ขึ้นมาแสดงความคิดเห็น
 
นายเดวิด ลิปแมน หัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย กล่าวว่าการจัดงานเสวนาครั้งนี้ เพื่อแสวงหาความร่วมมือกับประเทศไทยในการยกระดับมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือว่าเป็นหลักการสากล ที่สหภาพยุโรปให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยประเทศไทย ก็ได้แสดงท่าทีที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับสิทธิเสรีภาพในประเทศ จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันในครั้งนี้ขึ้นมา
 
 
หัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย ยืนยันว่าไม่ได้มีภารกิจที่จะแทรกแซงกิจการภายในของไทย แต่ต้องการเน้นการแสวงหาความร่วมมือ โดยต้องการส่งเสริมการพูดคุยและถกเถียง เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยสหภาพยุโรป ซึ่งมีประเทศสมาชิกหลายประเทศ เคยผ่านประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมาก่อน จึงยินดีที่จะร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิเสรีภาพในประเทศไทยร่วมกัน
 
 
ด้านนายประวิทย์ โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส สำนักพิมพ์เนชั่น แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีกฎหมายอาญามาตรา 112 ถึงการตัดสินคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งเพิ่งถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 11 ปี โดยเห็นว่า กรณีที่องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ รวมถึงสภาพยุโรป แสดงความกังวลมานั้น เป็นเพราะการตัดสินครั้งนี้ กระทบต่อสถานะของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชนอย่างมาก
 
 
ทั้งนี้ ในการเสวนาได้มีการอภิปรายกันถึงความสำคัญของสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ซึ่งมีแนวโน้มถดถอยลง จากการถูกปิดกั้น แทรกแซง รวมถึงการดำเนินคดีต่อการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยอาศัยกฎหมายพิเศษเช่นกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
 
 
โดยในวันพรุ่งนี้ (31 ม.ค.56) การเสวนาจะมีต่ออีก 1 วัน ในหัวข้อว่าด้วยกฎหมายและกรอบทางสังคม กับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งจะมีวิทยากรสำคัญๆ เข้าร่วม ได้แก่
 
- นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเขียนอิสระ 
- ดร.เดวิด เสร็กฟัส ผู้อำนวยการศูนย์แลกเปลี่ยนการศึกษาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
- นายจอน อึ๊งภากรณ์ หัวหน้าคณะทำงานศึกษากฎหมายอาญามาตรา 112 
- นางสาวจิรานุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเวปไซต์ประชาไท
- ศาสตราจารย์ ธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

 

อ้างอิง

 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น