วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556


บทที่ 6 ทรัพย์สินทางปัญญา

ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา

          ทรัพย์สิน คือ วัตถุที่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น ปัญญา คือ ความรอบรู้ ความรู้ทั่วไปความฉลาดเกิดแต่เรียนและความคิด เมื่อรวมทั้ง 2 คำเข้าด้วยกัน ทรัพย์สินทางปัญญา จึงหมายถึงความรู้ที่เกิดจากการคิดค้นจนทำให้เกิดมีค่าขึ้นได้ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทรัพย์สินทางปัญญาได้แก่การที่ผู้ใดหรือคณะบุคคลใดร่วมกันประดิษฐ์คิดค้น ออกแบบ สร้างสรรค์ จนเกิดผลขึ้นมา และผลงานนั้นมีคุณค่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งงานเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม

ทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญอย่างไร  

              ปัจจุบันทรัพย์สินทางปัญญานับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และควรค่าต่อการที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ด้วยเหตุผลที่ว่า การประดิษฐ์คิดค้น กรรมวิธีต่างๆ นั้น จุดกำเนิดของการได้มานั้นมาจากความคิดมาจากมันสมองผนวกกับระยะเวลาที่ทุ่มเทให้กับการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทรงคุณค่าเป็นที่ภูมิใจของผู้ประดิษฐ์ ดังนั้นด้วยเหตุ นี้เองผลงานดังกล่าวจึงควรค่าแก่การคุ้มครอง จากเหตุที่กล่าวมาจึงได้มีการบัญญัติเป็นกฎหมายเพื่อให้การคุ้มครอง โดยมีพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ให้การคุ้มครองในหลักการรูปแบบที่แตกต่างกันไป

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

              โดยทั่ว ๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า "ลิขสิทธิ์" ซึ่งใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้ว ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial property) และลิขสิทธิ์ (Copyright) ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม แท้ที่จริงแล้วทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมนี้เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบ และรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อ และถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออก ได้ดังนี้

  •  สิทธิบัตร (Patent)
  •  เครื่องหมายการค้า (Trademark)
  •  แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Designs of Integrated Circuit)
  •  ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
  •  ชื่อทางการค้า (Trade Name)
  •  สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท

              ลิขสิทธิ์ งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์

              สิทธิ์ข้างเคียง (Neighbouring Right) คือ การนำเอางานด้านสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุ โทรทัศน์ ในการบันทึกหรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ

              โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน

              งานฐานข้อมูล (Database) คือ ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ

              สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์( Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด

              การประดิษฐ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธี ในการผลิต การรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

              การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม และแตกต่างไปจากเดิม

              ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสิทธิบัตร ( Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย

              แบบผังภูมิของวงจรรวม หมายถึง แผนผังหรือแบบที่ทำขึ้น เพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น

              เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้สินค้า หรือบริการ ได้แก่

                            - เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่อง หมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น

                            - เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น

                            - เครื่องหมายร่วม (Colective Mark) คือ เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กร อื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้าง ของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เป็น


การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา

การป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

  (1) กรณีถูกดำเนินคดีอาญา ผู้ถูกจับย่อมมีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะขอตรวจดูเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกระทำใด ๆ อันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตนเอง
    (2) การค้นในที่รโหฐานจะต้องมีคำสั่งหรือหมายศาล มาแสดงก่อนจึงจะทำการค้น
    (3) ของกลางในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ถูกยึดหรืออายัด คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเท่านั้น เช่น คอมพิวเตอร์ที่บันทึกเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น
    (4) กรณีตกเป็นผู้ต้องหาย่อมมีสิทธิ์ ดังนี้
           ก. สิทธิ์พบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความสองต่อสอง
           ข. สิทธิ์ได้รับการเยี่ยมตามสมควร
           ค. สิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาล โดยเร็วเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย
           ง. สิทธิ์ขอทราบข้อกล่าวหาในการกระทำความผิด เนื่องจากบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับการความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
    (5) การประกันตัวผู้ต้องหา หลักฐานที่ต้องนำมาใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหา คือ โฉนด ที่ดิน เงินสด หรือบุคคลที่เป็นข้าราชการพลเรือนตำแหน่งระดับ 6 ขึ้นไป กรณีนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ให้ถือปฏิบัติห้ามไม่ให้ข้าราชการประกันตัวผู้ต้องหาในคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

 

หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณาสินค้าลอกเลียนแบบ 

การพิจารณาสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเบื้องต้น 3 ประการ ดังนี้

                   1. สถานที่จำหน่ายสินค้า

                        1.1 กรณีสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า

                                                                สินค้าของแท้จะวางขายตามร้านค้าที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าที่มีหลักแหล่งเป็นที่แน่นอน เช่น ในห้างสรรพสินค้า ดิเอ็มโพเรี่ยม สยามพารากอน และเกษรพลาซ่า เป็นต้น สินค้าของปลอมหรือลอกเลียนแบบจะวางตามร้านค้าหรือแผงลอยริมฟุตบาท   ตามแหล่งท่องเที่ยวหรือตลาดเปิดท้ายขายของ หรือวางโชว์เฉพาะแคตตาล๊อคสินค้าให้ลูกค้าเลือกซื้อ                  

                                                1.2  กรณีสินค้าลิขสิทธิ์

                                                     สินค้าของแท้จะวางขายตามร้านค้าหรือแผงลอยที่มีหลักแหล่งเป็นที่แน่นอน มีเอกสารการจดทะเบียนพาณิชย์ ใบร้านค้าสินค้าลิขสิทธิ์ และใบอนุญาตค้าของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมแสดงที่ร้านค้าหรือแผงลอย

            สินค้าของปลอมส่วนมากจะวางโชว์ปกให้ลูกค้าเลือกซื้อ โดยให้จ่ายเงินก่อน และให้รอรับสินค้าประมาณ 10– 15 นาที หรือสะกิดขาย หรือในบางพื้นที่จะวางโชว์สินค้าของแท้ปะปนกับของปลอม

                                2. คุณภาพของสินค้า

                                                2.1 กรณีสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า

           สินค้าของแท้จะใช้วัสดุที่มีคุณภาพในการผลิต การผลิตมีความปราณีตและมีการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำสินค้าออกวางจำหน่ายในท้องตลาด จึงเป็นสินค้าที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์ของผู้ผลิตแต่ละราย จึงมีความสวยงาม แข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้นาน

          สินค้าของปลอมหรือลอกเลียนแบบจะใช้วัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตไม่มีความปราณีตในการผลิตจึงขาดความแข็งแรงทนทานและมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า

                                                2.1 กรณีสินค้าลิขสิทธิ

          สินค้าของแท้กรณีเป็นแผ่นซีดีส่วนใหญ่ จะเป็นแผ่นปั๊มจากโรงงาน ปกกระดาษจะมีสีสดคมชัด ภาพคมชัด กล่องบรรจุมีรูปทรงสวยงาม มีโลโก้หรือสัญลักษณ์ของผู้ผลิตอยู่บนแผ่นรวมทั้งระบุแหล่งผลิต

          สินค้าของปลอมหรือลอกเลียนแบบส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นไรท์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ และใช้แผ่นสติ๊กเกอร์ปิดบนแผ่นซีดีแทนการพิมพ์สี ปกใช้วิธีถ่าย เอกสารมีสีไม่คมชัด ส่วนใหญ่บรรจุอยู่ในซองพลาสติก ไม่มีโลโก้หรือสัญลักษณ์ของผู้ผลิตอยู่บนแผ่นรวมทั้งไม่ระบุแหล่งผลิต

                3. ราคาสินค้า

                        3.1 กรณีสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า

      สินค้าของจริงเป็นสินค้าที่มีต้นทุนในการประดิษฐ์คิดค้น ใช้วัสดุคุณภาพดี มีต้นทุนในการโฆษณาสินค้า และต้องเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย จึงมีราคาสูง

        สินค้าของปลอมหรือลอกเลียนแบบไม่มีต้นทุนด้านทรัพย์สินทางปัญญา ไม่มีต้นทุนในการโฆษณาสินค้า ใช้วัสดุคุณภาพต่ำ และไม่เสียภาษี จึงมีราคาถูกกว่าสินค้าของแท้เป็นอย่างมาก

                                                3.2 กรณีสินค้าลิขสิทธิ์

      สินค้าของจริงมีต้นทุนในการสร้างสรรค์ผลงาน ต้นทุนในการผลิตผลงาน ต้นทุนในการโฆษณา และต้องเสียภาษีอย่างถูกต้อง ซึ่งผลงานลิขสิทธิ์ไม่ใช้ประสบความสำเร็จในทุกชุดหรือทุกอัลบั๊ม ราคาสินค้าที่จำหน่ายจึงมีราคาสูง

        สินค้าของปลอมหรือลอกเลียนแบบไม่มีต้นทุนในการสร้างสรรค์ ไม่มีต้นทุนในการผลิตผลงาน ไม่มีต้นทุนในการโฆษณา ไม่เสียภาษี และลอกเลียนเฉพาะสินค้าที่ประชาชนเป็นที่นิยมเท่านั้น สินค้าที่ผลิตใช้วัสดุคุณภาพต่ำจึงมีราคาถูกกว่าสินค้าของแท้เป็นอย่างมาก

 

การใช้งานอย่างชอบธรรม

สำหรับนโยบายด้านการใช้งานโดยชอบธรรมของวิกิพีเดีย ดูที่ วิกิพีเดีย:เนื้อหาที่ใช้งานโดยชอบธรรม 

ภาพที่ใช้งานโดยชอบธรรมได้

การใช้งานโดยชอบธรรม (อังกฤษFair use) เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา ที่อนุญาตให้การอ้างถึง หรือการนำเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ไปประกอบในงานของผู้อื่น สามารถทำได้บนเงื่อนไขบางประการ คำว่า "การใช้งานโดยชอบธรรม" นี้เป็นเรื่องเฉพาะของสหรัฐอเมริกา แม้ในประเทศอื่นอาจจะมีหลักการที่คล้าย ๆ กันอยู่บ้างก็ตาม ซึ่งใช้งานโดยชอบธรรมไม่มีผลตามกฎหมายในประเทศไทย

การใช้งานโดยชอบธรรมประกอบด้วย การใช้โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้า หรือการนำภาพส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ หรือปกหนังสือไปใช้งานในความละเอียดต่ำหรือมีขนาดเล็ก โดยไม่ทำให้ก่อให้เกิดความเสียหายของสินค้า หรือทำให้สินค้านั้นขาดรายได้

ประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



Description: http://chm-thai.onep.go.th/chm/images/bullet.gif โปรแกรมงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง (cross-cutting issues)

อนุสัญญาฯ ได้จำแนกระบุประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง (Cross-Cutting Issues) ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโปรแกรมงานในประเด็นหัวข้อสาระสำคัญ (Thematic Programmes) โดยประเด็นเหล่านี้ระบุอยู่ในมาตรา 6 ถึงมาตรา 20 ของอนุสัญญาฯ ตัวอย่างเช่น ความปลอดภัยทางชีวภาพ การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา อนุกรมวิธาน หรือในมาตรา 8 (j) ที่เกี่ยวกับประเด็นความรู้ การประดิษฐ์คิดค้น และวิธีการปฏิบัติของชุมชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งในบางประเด็นมีหัวข้อการจัดทำโปรแกรมงานแล้ว เช่น โปรแกรมงานว่าด้วยพื้นที่คุ้มครอง โปรแกรมงานว่าด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความร่วมมือทางเทคโนโลยี ส่วนประเด็นหัวข้ออื่นๆ มีการจัดทำหลักการหรือแนวทางเพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินการ เช่น แนวทางบอนน์ว่าด้วยการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรม และหลักการแอดดิส อาบาบาว่าด้วยการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เป็นต้น

ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง (cross-cutting issues) มีดังต่อไปนี้

 
กรณีศึกษา
กรณีศึกษาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
หนึ่ง ปัญหาด้านสิทธิเครื่องหมายการค้า
 
ชี้แจงปัญหา
 
     ความตระหนักในเรื่องเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายการค้าธุรกิจ
 
     เครื่องหมายการค้า หมายความถึง สัญลักษณ์เด่นชัดที่ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการใช้สำหรับสินค้าที่ผลิตหรือประกอบการ เพื่อจำแนกแยกแยะจากสินค้าประเภทเดียวกันหรือประเภทใกล้เคียงกัน  โดยทั่วไปมักประกอบด้วย ตัวอักษร หรือรูปภาพหรือทั้งสองอย่างประกอบกัน  สิทธิเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิเฉพาะเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน หมายความถึง สิทธิที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าพึงได้รับจากการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสำนักงานเครื่องหมายการค้าแห่งชาติ  สิทธิเครื่องหมายการค้ามีลักษณะเฉพาะทางกฎหมายดังต่อไปนี้
 
    1. การผูกขาด  การผูกขาดหรือเรียกว่า การบ่งใช้เฉพาะ หมายความถึง สิทธิการผูกขาดในการใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนที่ผู้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพึงได้รับ  สิทธิการผูกขาดในการใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าพึงได้รับ  ผู้ใดก็ตามที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่องหมายการค้า ไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้ 
    2. ด้านเวลา  กฎหมายได้จำกัดระยะเวลาในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า  เมื่อผ่านพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดก็สิ้นสุดผลทางกฎหมาย พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าของประเทศจีนกำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้มีผลบังคับใช้ 10 ปี  ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลาแล้วสามารถทำการต่ออายุได้  โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการต่ออายุ 
    3. ด้านขอบเขต  ด้านขอบเขตสิทธิเครื่องหมายการค้า หมายความถึง สิทธิเครื่องหมายการค้ามีผลบังคับใช้ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ พ้นจากขอบเขตที่กำหนดก็สิ้นสุดผลทางกฎหมายในการใช้สิทธิเฉพาะนี้  เจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนสามารถใช้สิทธิและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเฉพาะในประเทศที่ให้สิทธิเครื่องหมายการค้าเท่านั้น  หากต้องการได้รับความคุ้มครองจากประเทศนั้น ก็ต้องยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายที่ประเทศนั้นกำหนด
 
     เนื้อหาเรื่องสิทธิเครื่องหมายการค้า ประกอบด้วย สิทธิการใช้ สิทธิการห้าม สิทธิการโอน และสิทธิการอนุญาตให้ใช้ เป็นต้น
 
     1. สิทธิการใช้ หมายความถึง สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับสินค้าที่ได้รับการตรวจสอบและอนุมัติแล้ว 
     2. สิทธิการห้าม หมายความถึง สิทธิตามกฎหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้าในการห้ามมิให้ผู้อื่นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย สิทธิในการห้ามมิให้ผู้อื่นกระทำการปลอมแปลง หรือสร้างสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนไว้เองโดยพลการ หรือการใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในสินค้าประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน 
     3. สิทธิการโอน หมายความถึง สิทธิตามกฎหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้าในการโอนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนนี้ให้กับผู้อื่น 
     4. สิทธิการอนุญาตให้ใช้ หมายความถึง สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าในการลงนามสัญญาการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าแก่ผู้อื่น โดยอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนนี้ได้
 
      องค์ประกอบสำคัญของสิทธิเครื่องหมายการค้า คือ ผู้ที่พึงได้รับสิทธิเฉพาะในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและได้รับสิทธิเฉพาะในเครื่องหมายการค้า และผู้ที่ได้รับสิทธิเฉพาะในเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายหรือตามสัญญา  ประเภทหลักของสิทธิเครื่องหมายการค้าประกอบด้วย หน่วยงานธุรกิจ กลุ่มสังคม อุตสาหกรรมพาณิชย์เฉพาะส่วนและห้างหุ้นส่วนบุคคล  ผู้ได้รับสิทธิเครื่องหมายการค้าและผู้สืบทอดสิทธิอย่างอื่น  รวมถึงชาวต่างประเทศที่พึงได้รับสิทธิเครื่องหมายการค้า  เรื่องสิทธิเครื่องหมายการค้าก็คือเป้าหมายในการคุ้มครองสิทธิเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะของกฎหมายนั่นเอง
 
      “พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า และระเบียบดำเนินการเครื่องหมายการค้ากำหนดว่า รูปแบบการใช้เครื่องหมายการค้าดังต่อไปนี้เป็นรูปแบบที่แสดงถึงการละเมิดสิทธิเฉพาะของเครื่องหมายการค้า
 
     1. การใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในสินค้าประเภทเดียวกันโดยพลการ
     2. การใช้เครื่องหมายการค้าที่ใกล้เคียงกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในสินค้าประเภทเดียวกันโดยพลการ
     3. การใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนกันกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในสินค้าประเภทใกล้เคียงกันโดยพลการ
     4. การใช้เครื่องหมายการค้าที่ใกล้เคียงกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในสินค้าประเภทใกล้เคียงกันโดยพลการ
     5. ขายสินค้าที่ละเมิดสิทธิเฉพาะของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน (แต่ถ้าหากผู้ขายไม่ทราบว่าเป็นสินค้าที่ละเมิดสิทธิเฉพาะของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน สามารถทำการยืนยันได้ว่าสินค้านี้ตนได้รับมาอย่างถูกกฎหมายพร้อมทั้งให้ชื่อผู้มอบสินค้ามา จะไม่ต้องรับผิดชอบภาระในการจ่ายค่าชดเชย
     6. ปลอมแปลงหรือสร้างสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้อื่นโดยพลการ
     7. ขายสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้อื่นที่ปลอมแปลงมาหรือสร้างขึ้นมาโดยพลการ
     8. ใช้ตัวอักษรหรือรูปที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้อื่นเป็นชื่อสินค้าหรือประดับสินค้าในสินค้าประเภทเดียวกันหรือประเภทใกล้เคียงกัน ซึ่งทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้
     9. พฤติกรรมเจตนาละเมิดสิทธิเฉพาะในเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น โดยให้เงื่อนไขอำนวยความสะดวกด้านคลังสินค้า การขนส่ง การส่งทางไปรณีย์ การปิดบังซ่อนเร้นเป็นต้น
    10. ทำให้สิทธิเฉพาะในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้อื่นได้รับความเสียหาย
 
     เครื่องหมายการค้าเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีความสำคัญต่อองค์กร เป็นอาวุธทางการตลาดในการบุกเบิก ยึดครองและสร้างเสถียรภาพในตลาด  การฟูมฟักและรักษาเครื่องหมายการค้าความจริงแล้วเป็นการฟูมฟักและรักษาชื่อเสียงทางการแข่งขันในตลาดของตัวองค์กรเอง  แต่ความเป็นจริง ปัจจุบันนี้การตระหนักรับรู้ในสิทธิเครื่องหมายการค้าในประเทศจีนนั้นยังไม่เข้มแข็งนัก  หลังจากที่จีนเข้าร่วมองค์กรการค้าโลก(WTO)  สงครามตราสินค้าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของบริษัทข้ามชาติในการแข่งขันกับคู่แข่งและการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดต่างประเทศ  สถิติจากศาลแสดงว่า กรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเครื่องหมายการค้าระหว่างบริษัทจีนและบริษัทต่างชาติยังคงเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง  ยกตัวอย่างเช่นที่เมืองเทียนจิน ก่อนหน้านั้น1ปี ศาลประชาชนสูงสุดของเมืองเทียนจินโดยเฉลี่ยแล้วไม่มีคดีต่างชาติเกี่ยวกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา  ทว่าเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ.2001 จนถึงเดือนกันยายน ค.ศ.2002 มีคดีต่างชาติเกี่ยวกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาถึง 8 คดี  หลังประเทศจีนเข้าร่วมในองค์กรการค้าโลก ทำให้บริษัทในประเทศจีนต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเครื่องหมายการค้าเป็นการด่วน  และเป็นผู้ใช้กฎระเบียบข้อบังคับคุ้มครองเครื่องหมายการค้าเพื่อรักษาสิทธิเครื่องหมายการค้าของตน พร้อมทั้งทำความคุ้นเคยโดยเร็วกับกฎระเบียบข้อบังคับคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง  ทั้งนี้จะได้ไม่ละเมิดเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นเพราะความไม่เข้าใจในกฎระเบียบข้อบังคับ  โดยข้างล่างนี้เป็นกรณีศึกษาเรื่องการคุ้มครองสิทธิเครื่องหมายการค้าของ เสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อยซึ่งแสดงให้เห็นว่า องค์กรในประเทศจีนต้องยกระดับความตระหนักรับรู้ในสิทธิเครื่องหมายการค้าเป็นการเร่งด่วน

กรณีศึกษาที่ 1
 
 กรณีศึกษาเรื่องการคุ้มครองสิทธิเครื่องหมายการค้าเสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อย
  
       วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2001 คณะพิจารณาตรวจสอบเครื่องหมายสำนักงานอุตสาหกรรมและพาณิชย์แห่งชาติ(ต่อไปนี้เรียกย่อว่าคณะพิจารณาพาณิชย์)ส่งหนังสือการพิจารณาตรวจสอบการค้า เลขที่ 159 (ปีค.ศ.2001) หัวข้อเรื่อง หนังสือตัดสินชี้ขาดอีกครั้งเรื่องการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 753570 “เสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อย”” ไปยังหน่วยงานใต้บังคับบัญชา  ในที่สุดเรื่องราวที่สำนักงานเครื่องหมายการค้ามหานครฉงชิ่งได้เป็นตัวแทนในคดีการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ดำเนินมาเป็นระยะเวลาสองปีได้บังเกิดผลในที่สุด  เครื่องหมายการค้าเสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อยที่เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแต่มีมูลค่าค่อนข้างสูงนั้นไม่ได้สูญเสียให้กับต่างประเทศไป แต่ได้กลับมาสู่อ้อมอกของฉงชิ่งอีกครั้ง
 
       เครื่องหมายการค้าเสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อยเป็นของโรงงานผลิตเสื้อผ้าม้าดำในมหานครฉงชิ่ง(ต่อไปนี้เรียกย่อว่า โรงงานม้าดำ”) ในปี ค.ศ. 1993ได้ยื่นคำร้อง  วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1996 สำนักเครื่องหมายการค้าสำนักงานอุตสาหกรรมและพาณิชย์แห่งชาติได้ตรวจสอบและอนุมัติการจดทะเบียน  ทะเบียนการค้าเลขที่ 753570  แต่เนื่องจากตลาดอ่อนแรง ขาดทุนอย่างหนัก โรงงานม้าดำจึงถูกโรงงานเครื่องจักรสิ่งทอที่หนึ่งมหานครฉงชิ่งควบรวมกิจการโดยวิธีรับผิดชอบแบกรับภาระหนี้สิน  ทว่าไม่ได้ดำเนินขั้นตอนการโอนเครื่องหมายการค้าให้  ขณะเดียวกันก็ได้จัดตั้งกลุ่มชำระบัญชีทรัพย์สินคดีล้มละลาย(ต่อไปนี้เรียกย่อว่า กลุ่มชำระบัญชีหลังจากนั้นก็ได้จัดการผลิตและขายสินค้าคงคลังในนามของกลุ่มชำระบัญชี แต่ในขณะนั้นยังคงไม่ได้จัดการเรื่องการโอนเครื่องหมายการค้า ซึ่งได้ทิ้งภัยพิบัติซ่อนเร้นเอาไว้
 
       ก่อนหน้าที่โรงงานเครื่องจักรสิ่งทอจะล้มละลาย  เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1997 บริษัทพันธมิตรรักบี้แห่งชาติอเมริกาได้ใช้ชื่อเดียวกันนี้ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประเภทเดียวกันในประเทศจีน แต่ถูกตีกลับโดยอ้างอิงถึงโรงงานม้าดำที่ได้จดทะเบียนเสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อยไปก่อนแล้ว  แต่บริษัทนี้ไม่ล้มเลิกความตั้งใจ โดยได้มอบหมายให้บริษัท ตัวแทนสิทธิบัตรจีน (ฮ่องกง) จำกัดเป็นผู้แทนในการคิดหามาตรการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้า  บริษัทตัวแทนนี้รู้เพียงสถานการณ์ที่โรงงานม้าดำถูกควบกิจการล้มละลาย  ฉะนั้น เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ.1998 จึงยื่นคำร้องต่อสำนักเครื่องหมายการค้าสำนักงานอุตสาหกรรมและพาณิชย์แห่งชาติ ให้เพิกถอนสิทธิเครื่องหมายการค้า โดยให้เหตุผลว่าโรงงานม้าดำไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า เสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อยมาเป็นเวลาติดต่อกันสามปีแล้ว  สำนักเครื่องหมายการค้าได้รับพิจารณาคำขอนี้ตามข้อกำหนดที่ 29 ของ รายละเอียดระเบียบการปฏิบัติตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าแห่งสาธาณรัฐประชาชนจีน”  เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ในปีเดียวกัน สำนักเครื่องหมายการค้าได้ทำหนังสือส่งออกไปยังโรงงานม้าดำ เรียกร้องให้นำหลักฐานการใช้เครื่องหมายการค้ามาแสดง  แต่ที่อยู่ของโรงงานม้าดำเดิมได้เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นแล้ว เอกสารจึงไม่มีผู้รับ และไม่สามารถส่งไปถึงมือของกลุ่มชำระบัญชีได้ 
 
        หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปหนึ่งปี สำนักเครื่องหมายการค้าได้ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นการประกาศ เป็นต้น จนกระทั่งวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ.1999 ได้ออกหนังสือเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายการค้าเลขที่ 446 (ปีค.ศ.1999) หัวข้อเรื่อง เกี่ยวกับการตัดสินชี้ขาดการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเลขที่ 753570 “เสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อย CQHM และรูป”” เหตุผลคือโรงงานม้าดำไม่ได้ยื่นหลักฐานการใช้เครื่องหมายการค้านี้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด  โดยเรียกร้องให้โรงงานม้าดำนำยื่น หลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าภายใน 30 วันหลังจากที่ได้รับหนังสือตัดสินชี้ขาดฉบับนี้  แต่โรงงานม้าดำยังคงไม่ได้รับหนังสือฉบับนี้ โดยหนังสือได้ถูกไปรษณีย์ตีกลับไปยังสำนักเครื่องหมายการค้าในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1999  เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน กรมอุตสาหกรรมการพาณิชย์แห่งชาติได้ยื่นหนังสือถึงสำนักงานบริหารจัดการอุตสาหกรรมและพาณิชย์มหานครฉงชิ่ง โดยสั่งการให้ยึดหลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อยซึ่งได้ดึงดูดความสนใจจากสำนักงานอุตสาหกรรมและพาณิชย์ฉงชิ่งเป็นอย่างมาก แต่ขั้นตอนทั้งหมดได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยที่เสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อยถูกตัดสินในครั้งแรกให้ต้องโทษ ประหารชีวิตช่วงเวลานี้ สำนักราชการมหานครฉงชิ่งได้ยื่นหนังสือไปยังคณะพิจารณาพาณิชย์เพื่อขอความสนับสนุนและคุ้มครองผลประโยชน์ตามกฎหมายให้กับองค์กร ผู้บริหารกรมอุตสาหกรรมการพาณิชย์ฉงชิ่งได้ให้ความสำคัญพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยมอบหมายให้ขบวนการสู้รบฝีมือดีคอยให้บริการในครั้งนี้ ขณะเดียวกันก็ได้ยื่นหนังสือไปยังคณะพิจารณาพาณิชย์เพื่ออธิบายเหตุการณ์พร้อมเสนอความคิดเห็นในการคุ้มครองสิทธิ ซึ่งเป็นการวางรากฐานอย่างมั่นคงให้กับการพิจารณาตัดสินคดีนี้อีกครั้ง 
 
         ศาลชั้นสูง ศาลชั้นกลางของมหานครฉงชิ่งได้ทำการตอบปัญหาในหลักสำคัญของคดีนี้อย่างชัดเจนโดยอ้างอิงตามข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และให้การสนับสนุนทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญในคดีนี้  คณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบเครื่องหมายการค้าให้ความสำคัญกับคดีนี้อย่างมาก โดยได้ทำการศึกษาวิจัยและพิสูจน์หลักฐาน โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากทั้งมหาวิทยาลัยการเมืองและกฎหมาย  แผนกกฎหมายสำนักงานอุตสาหกรรมและพาณิชย์แห่งชาติ  สำนักงานจดทะเบียนบริษัท  สำนักงานเครื่องหมายการค้า  แผนกกฎหมายกระทรวงวัฒนธรรม ศาลชั้นกลางที่สองมหานครปักกิ่ง  ศาลชั้นกลางที่หนึ่งมหานครปักกิ่ง  และผู้รับผิดชอบจากหน่วยงานตัวแทนเครื่องหมายการค้า 26 แห่งจากทั่วประเทศเข้าร่วมงานสัมมนาในหัวข้อพิเศษ  ทั้งนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดได้มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า อ้างอิงตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องจากกฎหมาย หลักทั่วไปประมวลกฎหมายแพ่ง” “กฎหมายองค์กรเป็นต้นนั้น หลังจากที่โรงงานผลิตเสื้อผ้าม้าดำมหานครฉงชิ่งได้ถูกโรงงานเครื่องจักรสิ่งทอที่หนึ่งมนานครฉงชิ่งควบรวมกิจการแล้ว สิทธิและภาระหน้าที่นี้ควรเป็นสิ่งที่โรงงานเครื่องจักรสิ่งทอที่หนึ่งมนานครฉงชิ่งพึงได้รับและต้องรับผิดชอบ  สิทธิเครื่องหมายการค้าเสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อยเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทโรงงานม้าดำมหานครฉงชิ่งซึ่งถูกโรงงานเครื่องจักรสิ่งทอที่หนึ่งมนานครฉงชิ่งมารับช่วงต่อไป  สิทธิเครื่องหมายการค้าเสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อยนั้นไม่ได้เป็นเพราะผู้มีสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าเดิมถูกลบออกจากทะเบียนจึงทำให้เกิดการสูญสิ้นซึ่งสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น  นี่เป็นความจริงตามกฎหมาย  สำหรับกรณีที่โรงงานเครื่องจักรสิ่งทอที่หนึ่งมนานครฉงชิ่งไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือโอน ณ สำนักงานเครื่องหมายการค้านั้น เป็นเพียงความบกพร่องทางพฤติกรรม ไม่ได้ส่งผลให้เครื่องหมายการค้าถูกเพิกถอน  ภายใต้เงื่อนไขนี้ การให้สำนักงานเครื่องหมายการค้าเป็นผู้เกี่ยวข้องดำเนินการเพิ่มเติมตามขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือโอน จึงเป็นการสมเหตุสมผล ซึ่งเมื่อพิจารณาจากความสัมพันธ์ด้านทรัพย์สินแล้วก็ถูกต้องกฎหมายด้วย  กลุ่มชำระบัญชีเป็นนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติทางแพ่ง มีสิทธิ์ในการเรียกร้องให้คณะพิจารณาพาณิชย์ทำการพิจารณาตัดสินใหม่อีกครั้ง  จากสถานการณ์ที่โรงงานม้าดำฉงชิ่งไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าเสียวหม่าจวี/ลูกม้าน้อยเป็นเวลาสามปีนั้น ยังไม่ได้เป็นความจริงตามกฎหมาย สำนักงานเครื่องหมายการค้าจึงยกเว้นข้อบกพร่องให้สำหรับเครื่องหมายการค้านี้  และท้ายที่สุดเมื่อคณะพิจารณาตรวจสอบได้ทำการตรวจสำนวนคดีอย่างรอบคอบแล้ว จึงได้ทำการตัดสินชี้ขาดดังที่กล่าวมาในข้างต้น

 

อ้างอิง






 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น